10 พ.ค.นี้ วันหยุดภาคอีสาน ประเพณีงานบุญบั้งไฟ

10 พฤษภาคมนี้ เป็นวันหยุดราชการภาคอีสาน ประเพณีงานบุญบั้งไฟ

10 พ.ค. วันหยุดราชการประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเพณีงานบุญบั้งไฟ

ด้วยสถานการณ์ covid-19 ประกาศศบค. ห้ามร่วมกลุ่มทำกิจกรรม

ประเพณีบั๊งไฟถึงงดจัดกิตกรรม เหลือเพียง การจุดบั๊งไฟ อย่างเดียว โดยไม่มีการรวมกลุ่ม

จังหวัดยโสธร ออกประกาศให้งดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟในทุกระดับ

ซึ่งปี 63 ผ่อนปรนให้จุดได้ 1 บั้งบวงสรวงพญาแถนขอฝนตามประเพณี

ห้ามรวมกลุ่มกันมากกว่า 50 คน และขอความร่วมมืองดกิจกรรมสังสรรค์ งานรื่นเริง หรือชะลอการเดินทางโดยไม่มีเหตุจำเป็นหลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นพร้อมให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเข้มข้น

9 พ.ค 64 วันนี้ตามประเพณีคือวันแห่บุญบ้องไฟยโสธรถ้าไม่ได้จัดต้องทำพิธีบายศรีไหว้เจ้าที่เจ้าทางวัดกลาง จาก facebook ยโสบ้านเฮา

ตำนานบุญบั๊งไฟ .. พระยาคันคาก และ พญาแถน
ในงานบุญบั้งไฟ

      ความเชื่อของ ประเพณีบุญบั้งไฟ ปรากฏอยู่ใน ตำนานเรื่องพญาคันคากและเรื่องผาแดงนางไอ่ มีการกล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถน โดยเฉพาะในเรื่องพญาคันคาก ซึ่งตำนานนั้นมีอยู่ว่า…

      พญาคันคาก เป็นพระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นโอรสของกษัตริย์ เหตุที่ได้ชื่อว่า “พญาคันคาก” เป็นเพราะเมื่อครั้งประสูติมีรูปร่างผิวพรรณเหมือนคางคก หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า คันคาก และถึงแม้พระองค์จะมีรูปร่างอัปลักษณ์ แต่พระอินทร์ก็คอยช่วยเหลือ จนพญาคันคากเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน จนลืมที่จะเซ่นบูชาพญาแถน พญาแถนจึงโกรธ ไม่ยอมปล่อยน้ำฝนให้ตกลงมายังโลกมนุษย์

     จึงเกิดศึกการต่อสู้ระหว่างพญาคันคากและพญาแถนขึ้น โดยพญาคันคากได้นำทัพสัตว์ต่างๆ ขึ้นไปรบ จนได้รับชัยชนะ พญาแถนจึงปล่อยให้ฝนตกลงมาเช่นเดิม แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาเป็นประจำทุกปี จึงเป็นที่มาว่า ชาวอีสานจึงทำบั้งไฟจุดขึ้นบนฟ้าถวายพญาแถน เพื่อฝนจะได้ตกต้องตามฤดูกาลนั่นเองค่ะ

     และจากตำนานพญาคันคากนี่เอง ทำให้ชาวยโสธรได้สร้างแลนด์มาร์กขึ้นเพื่อแสดงถึงความเชื่อของชาวอีสาน คือ พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก นั่นเอง

งานบุญบั้งไฟ จัดที่ไหนบ้าง

       การจัดงานปนะเพณีบุญบั้งไฟนั้น ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในภาคอีสาน โดยมีหลายที่ทั้ง ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองคาย มหาสารคาม ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู เลย อำนาจเจริญ นอกจากนี้แล้วในพื้นที่ภาคเหนือ มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี เพชรบูรณ์อีกด้วค่ะ เนื่องจากประชากรในเขตพื้นที่ส่วนใหญ่ อพยพมาจากเขตภาคอีสาน

ในงานประเพณีบุญบั้งไฟ จะมีกิจกรรมหลายอย่าง ตั้งแต่การจัดขบวนแห่บั้งไฟ การเซิ้งบั้งไฟ และการละเล่นต่างๆ ที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น เช่น การทอดแหหาปลา การสักสุ่ม ขบวนเซิ้งแต่งกายสวยงามแบบโบราณ เซิ้งเป็นกาพย์ให้คติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาอันงดงาม

       บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง ว่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ นี้ไว้เป็นเวลานานเป็นเดือน แล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ

       ส่วนหัวบั้งไฟนั้นจะทำเป็นรูปต่างๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากและลิ้นพ่นน้ำได้ แต่ก็มีที่ทำเป็นรูปอื่นๆ อยู่ด้วยค่ะ แต่ก็จะมีความหมายเข้ากับตำนานในการขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟจะนำไปตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะ นำมาเดินแห่ตามประเพณีนั่นเอง

บั้งไฟชนิดต่างๆ 

       บั้งไฟ นั้นมีอยู่หลายชนิด ทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นใช้ดินประสิวหนัก 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม และบั้งไฟแสนใช้ดินประสิว 10 หมื่น หรือ 120 กิโลกรัม

      เมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหน ก็หาช่างมาทำ หรือที่มีฝีมือก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมาก จะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวนผสมดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตร บั้งไฟก็จะแตก ไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า

      สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้นต้องเป็นไม้ไผ่ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้นเพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกันค่ะ

      นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันจุดบั้งไฟ ซึ่งจะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกโยนลงในโคลน เป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาอีกด้วย

ที่มา : ททท.#ไตรศุลีไตรสรณกุล #กวางไตรศุลี