คมนาคมเพิ่ม 6 เส้นทาง วิ่งความเร็ว 120 กม./ชม. เริ่ม 1 ก.ย.นี้

คมนาคมเพิ่ม 6 เส้นทาง วิ่งความเร็ว 120 กม./ชม. เริ่ม 1 ก.ย.นี้

กระทรวงคมนาคมได้ออก “กฎกระทรวง กำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กำหนด พ.ศ.2564” และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ซึ่งภายหลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้เปิดให้ผู้ขับขี่รถใช้ความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนทางหลวงหมายเลข 32 หรือถนนสายเอเชีย ช่วงหมวดทางหลวงบางปะอิน ถึงทางต่างระดับอ่างทอง เป็นเส้นทางแรก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ตามนโยบายการปรับเพิ่มอัตราความเร็วของรถยนต์ จากความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสั่งการให้กรมทางหลวงกำหนดเส้นทางเพิ่มเติม โดยให้ครอบคลุมเส้นทางในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เพื่อประกาศใช้ในระยะที่ 2 โดยได้ข้อสรุป 6 เส้นทาง มีผลเริ่มใช้ได้ในวันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมยังได้เน้นย้ำให้กรมทางหลวงปรับปรุงเพิ่มมาตรฐานทางกายภาพให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ได้แก่ เสริมการก่อสร้างอุปกรณ์ป้องกันด้านข้างทาง (Concrete Barrier) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงเนื่องจากการเสียหลักข้ามเกาะกลาง ปรับปรุงจุดกลับรถระดับราบ เพื่อลดการตัดกันของกระแสจราจร ติดตั้งป้ายจราจรและป้ายเปลี่ยนข้อความได้เพื่อสื่อสารการใช้ความเร็วที่เหมาะสมในช่วงถนนและช่องจราจร รวมทั้งติดตั้งแถบเตือน Rumble Strips บอกจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการเข้าเขตควบคุมความเร็วด้วย

สำหรับเส้นทางนำร่อง ระยะที่ 2 ทั้ง 6 เส้นทาง ที่จะเริ่มใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ในวันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป ประกอบด้วย

1.ทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตอนบ่อทอง-มอจะบก ระหว่าง กม.74+500 ถึง กม. 88+000 แขวงทางหลวงนครราชสีมาที่ 2 ทั้งขาเข้าและขาออก 6 ช่องจราจร ระยะทาง 13.500 กม.

2.ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ตอนหางน้ำหนองแขม-บ้านหว้า-วังไผ่ ระหว่าง กม.306+640 ถึง 330+600 แขวงทางหลวงนครสวรรค์ที่ 1 ทั้งขาเข้าและขาออก 8 ช่องจราจร ระยะทาง 23.960 กม.

3.ทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ตอนอ่างทอง-ไชโย-สิงห์ใต้-สิงห์เหนือ-โพนางดำออก ระหว่าง กม.50+000 ถึง 111+473 แขวงทางหลวงอ่างทอง และแขวงทางหลวงสิงห์บุรี ทั้งขาเข้าและขาออก  6 และ 8 ช่องจราจร ระยะทาง 61.473 กม.

4.ทางหลวงหมายเลข 1 ตอนสนามกีฬาธูปเตมีย์-ต่างระดับคลองหลวง-ประตูน้ำพระอินทร์ ระหว่าง กม.35+000 ถึง 45+000 แขวงทางหลวงปทุมธานี ทั้งขาเข้าและขาออก 6 ช่องจราจร ระยะทาง 10.000 กม.

5.ทางหลวงหมายเลข 34 (ถนนบางนา – ตราด) ตอนบางนา-ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กม.1+500 ถึง 15+000 แขวงทางหลวงสมุทรปราการ ทั้งขาเข้าและขาออก 8 ช่องจราจร ระยะทาง 13.500 กม.

6. ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนสุวินทวงศ์) ตอนคลองหลวงแพ่ง-ฉะเชิงเทรา ระหว่าง กม. 53+300-58+320 และ กม. 62+220 ถึง กม. 63+000 แขวงทางหลวงฉะเชิงเทรา ทั้งขาเข้าและขาออก ระยะทาง 5.800 กม. โดยทั้ง 6 เส้นทางกำหนดให้ใช้อัตราเร็วสูงสุดไม่เกิน 120 กม./ชม. และไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม. ในช่องทางขวาสุด ยกเว้นกรณีเหตุฉุกเฉิน เช่น การจราจรติดขัด หรือรถเสีย 

ดีเดย์ 1 เมษา! ประเดิมกฎหมายใหม่ ให้รถวิ่งเร็วสุด 120 กม./ชม. @ถนนสายเอเชีย

ชัดเจนแล้วนะครับกับกฎหมายกำหนดความเร็วรถบนทางหลวงฉบับใหม่ ที่ให้ใช้ความเร็วได้สูงสุด 120 กม./ชม. โดยเว็บไซต์ราขกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศให้วันที่ 1 เม.ย. 64 ประชาชนสามารถใช้ความเร็วรถใหม่นี้กับ

เส้นทางที่ประกาศก่อนหน้านี้ หมวดทางหลวงบางปะอิน – ตำบลบ้านอิฐ เมืองอ่างทอง

ถนนสายเอเชีย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 บางปะอิน – พยุหะคีรี) ช่วงอยุธยา – อ่างทอง ระยะทางรวม 45.9 กม. เป็นที่แรก ส่วนถนนเส้นอื่น ๆ นั้น ขอให้รอประกาศต่อไป
.
โดยจะมีการติดป้ายแจ้งเตือนความเร็วให้ประชาชนทราบว่าจุดนี้ใช้ความเร็วได้เท่าใด โดยเฉพาะถนนที่สามารถใช้ความเร็วสูงสุด 120 กม./ชม. และจะมีการประเมินผลว่า กฎหมายฉบับนี้ช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร
.
สำหรับความเร็วที่กำหนดใหม่ มีดังนี้
🔸รถยนต์ ไม่เกิน 120 กม./ชม. (เลนขวา ไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม.)
🔹รถบรรทุก รถโดยสารเกิน 15 คน ไม่เกิน 90 กม./ชม.
🔸รถโดยสาร 7 – 15 คน ไม่เกิน 100 กม./ชม.
🔹รถชักจูง รถยนต์สี่ล้อเล็ก รถยนต์สามล้อ ไม่เกิน 65 กม./ชม.
🔸รถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 80 กม./ชม.
🔹รถจักรยานยนต์ 400cc ขึ้นไป ไม่เกิน 110 กม./ชม.
🔸รถโรงเรียน – รับส่งนักเรียน ไม่เกิน 80 กม./ชม.
.
อ่านประกาศเพิ่มเติม คลิก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/069/T_0050.PDF

11 ก.ย. ล่าสุด กรมทางหลวงเพิ่มอีก 7 เส้นทาง

กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ได้พิจารณาเส้นทางที่จะปรับความเร็วใหม่เพิ่มเติม จำนวน 8 เส้นทาง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำหรับการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็น เส้นทางของกรมทางหลวง 6 เส้นทาง ได้แก่
.

  1. เส้นทางที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 1 ช่วงหนองแค – หินกอง – ปากข้าวสาร – แยกสวนพฤกษศาสตร์พุแค กม. 79+000 – 105+000 ระยะทางรวมประมาณ 26.000 กิโลเมตร
  2. เส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 9 ช่วงบางแค – คลองมหาสวัสดิ์ กม. 23+000 – 31+872 ระยะทางรวมประมาณ 8.872 กิโลเมตร
  3. เส้นทางที่ 3 ทางหลวงหมายเลข 347 ช่วงเทคโนโลยีปทุมธานี – ต่างระดับเชียงรากน้อย กม. 1+000 – 10+000 ระยะทางรวมประมาณ 10.000 กิโลเมตร
  4. เส้นทางที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 35 ช่วงนาโคก – แพรกหนามแดง กม. 56+000 – 80+600 ระยะทางรวมประมาณ 24.600 กิโลเมตร
  5. เส้นทางที่ 5 ทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงเขาวัง – สระพระ กม. 160+000 – 167+000 ระยะทางรวมประมาณ 7.000 กิโลเมตร
  6. เส้นทางที่ 6 ทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงเขาวัง – สระพระ กม. 172+000 – 183+500 ระยะทางรวมประมาณ 11.500 กิโลเมตร
  7. เส้นทางของกรมทางหลวงชนบท 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 นบ.3021 (ถนนราชพฤกษ์) ตลอดเส้นทาง ระยะทางรวมประมาณ 51.700 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 นบ.1020 (ถนนนครอินทร์) ตลอดเส้นทาง ระยะทางรวมประมาณ 12.400 กิโลเมตร