ดาวเคียงเดือน 17-18 ก.ย. 64 และ 23 ก.ย.นี้เวลากลางวันเท่ากับเวลากลางคืน “วันศารทวิษุวัต”

ดาวเคียงเดือน 17-18 ก.ย. 64

ช่วงค่ำ 17 ก.ย. ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ วันนี้ยังพอทันนะ

สังเกตดีๆ บน app พยากรณ์อากาศ มีรูปดวงจันทร์กับดาว “ตอนนี้” จึงออกไปดู เห็นดาวกับเดือนคู่กันจริงๆ

“ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน” ถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจากดวงจันทร์และดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ ตามคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้นการที่ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกัน หรือเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันจึงถือเป็นเรื่องปกติ อธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์”

แต่หาก ใครนั่งเคียงกัน นั่งดูดาวเคียงเดือนด้วยกัน ก็คง Happy มาก .. ว่ามะ
พรุ่งนี้มีอีกวันนะ ..

ช่วงค่ำ 18 ก.ย. ดาวพฤหัสเคียงดวงจันทร์ ใกล้กว่าวันนี้ .. รอดูกันประมาณค่ำถึง 2 ทุ่ม

23 ก.ย.นี้เวลากลางวันเท่ากับเวลากลางคืน หรือ วันศารทวิษุวัต

“วันศารทวิษุวัต” ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี ทำให้ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้

ในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดเหนือสุดลงมาทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี

ที่มาข้อมูล : http://thaiastro.nectec.or.th/