“บางบาล” ทุ่งบางบาล รับน้ำแทนคนเมือง อยู่ตรงไหนกันนะ ?

“บางบาล” และ “ลุ่มน้ำเจ้าพระยา” ทุ่งนาข้าวรับน้ำแทนคนเมืองอยู่ที่ไหนกัน ?

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

ขอบคุณชาว “บางบาล” จ.อยุธยา และ “ลุ่มน้ำเจ้าพระยา” ทุ่งรับน้ำท่วม และภัยแล้ง ชั่วนาตาปี

หากปีไหน ฝนตกหนัก มีพายุเข้าภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน นั่งฟังข่าวน้ำท่วม จะได้ยินชื่อ ผันน้ำเข้า ทุ่งบางบาล หรือ แก้มลิงบางบาล แหล่งรับน้ำทุ่งบางบาล หรือ นาข้าวชาวบ้านนี้ละ เพื่อลดผลกระทบน้ำท่วมอำเภอตอนล่างทั้งอยุธยา ปทุมธานี ที่มีหมู่บ้าน โรงงาน นิคมอุตสาหกรรมกระจายอยู่จำนวนมากมาย

แม้ปีนี้น้ำจะไม่มากเหมือนปีก่อนๆ แต่ “บางบาล” ก็ยังคงช่วยเรารับน้ำไปเต็ม

เขื่อนเจ้าพระยา ห่างจากบางบาล กว่า 95 กม. แต่รับผลกระทบเกือบทุกปี

เขื่อนเจ้าพระยา เป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย อยู่ในจังหวัดชัยนาท และเป็นสายเลือดใหญ่ที่ใช้ประโยชน์ทางด้านชลประทานและการทดน้ำเพื่อการเกษตรโดยระบายน้ำจากแม่น้ำในภาคเหนือสู่ภาคกลางและอ่าวไทย ส่งต่อไปยังพื้นที่เพาะปลูกภาคกลาง เข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม 5 สาย คือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีน คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง คลองชัยนาท-ป่าสักและคลองชัยนาท-อยุธยา

เขื่อนเจ้าพระยา ที่มา thai.tourismthailand.org

บางบาลอยู่ห่างจากเขื่อนเจ้าพระยา กว่า 95 กม. ระยะเส้นตรงกันเลย แต่เมื่อไหร่ที่เขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำ มากกว่าที่แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาจะรับน้ำได้ ทุ่งบางบาลจะเป็นจุดรับน้ำไว้โดยปริยาย

เพราะ ทุ่งบางบาล เป็นเสมือนเกาะ มีพื้นที่ราบลุ่มผืนใหญ่ ล้อมรอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย คลองสายต่าง ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน และอำเภอพระนครศรีอยุธยา รวมเนื้อที่ประมาณ 170,000 ไร่ ทุ่งบางบาลจึงกลายเป็นหนึ่งในอีกหลายทุ่งที่รับน้ำท่วมหลากตามธรรมชาติในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อำเภอบางบาล แหล่งรับน้ำ และขาดน้ำทำนาแทนคนกรุง อยู่ตรงไหนของแผนที่ ?

ที่ราบลุ่มรับน้ำเหนือ บางบาล อยุธยา

คลองบางบาล

คลองบางบาล เป็น คลองแยกออกจาก แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ วัดจุฬามณี และแยกเข้าคลองบางบาล คดเคี้ยวระยะทาง ประมาณ 15 กม. ไปลงแม่น้ำน้อย ซึ่ง 2 ข้างทางของคลองจะมีแก้มลิงเก็บน้ำไว้ในยามน้ำหลาก

คลองบางบาล บริเวณสะพานข้ามคลองวัดท่าสุทธาวาส

สภาพพื้นที่อำเภอบางบาล จ.อยุธยา เป็นทุ่งจึงเป็นเสมือนแก้มลิงธรรมชาติ ที่น้ำต้องท่วมอยู่แล้ว โดยปกติน้ำจะท่วมในเขตอำเภอบางบาล ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคมของทุกปี

น้ำท่วมบางบาลเกิดขึ้นหลายครั้ง ได้แก่ ปี 2521, 2526, 2531, 2535, 2538, 2545, 2549, 2553, รุนแรงที่สุดในปี 2554, 2560, 2563

“ประวัติศาสตร์” หายนะจากน้ำท่วมรุนแรงที่สุด ในปี 2554 น้ำท่วมทั่วหน้า ลงมาถึง สนามดอนเมือง ก็ไม่รอด

ถนนวิภาวดีรังสินนี้ละ ขอบคุณภาพจาก facebook รังสิต
โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ อยุธยา 2554 ที่มา MGR ONLINE
รถยนต์ฮอนด้า จมน้ำ อุทกภัย ปี 2554
น้ำท่วมรันเวย์สนามบินดอนเมือง (ภาพจาก www.matichon.co.th) ต.ค. 2554
น้ำท่วมรันเวย์สนามบินดอนเมือง (ภาพสื่อต่างประเทศ) ต.ค. 2554

น้ำท่วมลุ่มเจ้าพระยา ตุลาคม 2560 – บางบาล ก็ไม่รอด

น้ำเหนือบ่า ต.ต. 60
ต.ต. 60

น้ำท่วม “บางบาล” กันยายน 2563

บางบาล ตุลาคม 2563 ขอบคุณ ภาพ posttoday

บางบาล เสนา ก.ย. 64 ล่าสุด

ขอบคุณรูปจากเพจสถานีอยุธยา
ชาวอยุธยา ฝากถาม ไหนลุงป้อม บอกไม่ท่วม
สำเภาล่ม เริ่มท่วม
ทุ่งวัดใบบัว บางกะระทุ่ม

อ.บางบาล แถบนัดยม วัดนกกระจาบ
จมบาดาล เดือดร้อนกันถ้วนหน้า

CR : Bank Ammarin BM

หลังคุณสรยุทธ์ เรื่องเบ่าเช้านี้ ออกข่าว ทุ่งบางบาล ว่างเปล่าไร้น่้ำเข้าทุ่ง

ล่าสุดประตูคลองระบายน้ำเข้าทุ่งแล้ว

โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2562 – จนถึงปี 2566

หลังเกิดเกิดมหาอุทกภัย ลามไปจนถึงสนามบินดอนเมือง ห้าแยกลาดพร้าว ในปี 2554 โครงการแก้มลิงบางบาล และทุ่งรับน้ำบางบาล จึงเกิดขึ้น

โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร ซึ่งเป็นหนึ่งในงานนโยบายสำคัญ เพื่อแก้ไขปัญหาให้ครอบคลุมทั้งด้านอุทกภัย และภัยแล้ง รวมไปถึงการบริหารจัดการน้ำ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแนวทางการบริหารจัดการน้ำตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ มีความยาวประมาณ 22.50 กม. ฯลฯ บรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ราว 1.9 – 2.5 ล้านไร่ 

ปัจจุบัน(22 ก.ย. 64) มีผลดำเนินโครงการฯคืบหน้าไปแล้ว 20 %

ปัจจุบัน 22 ก.ย. 64 มีผลดำเนินโครงการฯคืบหน้าไปแล้ว 20 %
มิ.ย. 2564
เม.ย. 2564 ที่มา มติชน

คนบางบาล น้ำมาก ข้าวจมน้ำ น้ำน้อย ไม่ได้ปลูกข้าว

ชาวนาแห่งทุ่งบางบาลทำนาปรัง ครั้งที่ 1 ในเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม-มีนาคม ส่วนในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ชาวนาจะเว้นช่วงปล่อยให้น้ำที่กรมชลประทานปล่อยเข้าท่วมทุ่ง แต่หากปีไหนเกิดภาวะภัยแล้ง น้ำใช้การได้ใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไม่เพียงพอ ทุ่งบางบาลก็ไม่มีน้ำที่จะทำนาปรัง เหมือนชาวนาพื้นที่อื่น ๆ “บางบาล” จึงเป็น “บาง” แห่งการรับน้ำ และภัยแล้ง ชั่วนาตาปี

ขอขอบคุณ ชาวนา คนบางบาลและลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ซึ่งในฐานะคนปทุมธานี ถูกน้ำท่วมบ้านเมื่อปี 2554 ข้าวของเสียหายหมดทั้งหลัง ก็ต้องขอขอบคุณชาวนา คนบางบาลและลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่คอยรับน้ำแทนคนปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร ..ขอขอบคุณ

ล่าสุด .. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.)  ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มต่ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

ประตูระบายน้ำคลองบางบาล

ลุงป้อม มาส่งสัณญานเตือน พร้อมรับน้ำท่วมเลยนะ

ผู้ว่าอ่างทอง คนใหม่ เตือนประชาชน พื้นที่นอกคั่นกั้นน้ำยกของขึ้นที่สูง

ท่านผู้ว่า ฯ วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าฯ อ่างทอง เพิ่งย้ายมาจากสมุทรสาคร บอก กรมชลประทาน แจ้งการปรับการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จากอัตรา 1,951 ลบ.ม./วินาที เป็นอัตรา 2,000 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่นอกคั้นกันน้ำ บริเวณคลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ชุมชนแม่น้ำน้อย (ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา) 

    ส่วนที่ จ.อ่างทอง จะกระทบ คือ คลองโผงเผง อ.ป่าโมก วัดไชโย จ.อ่างทอง 
     ส่วน จ.สิงห์บุรี คือที่ อ.พรหมบุรี อ.เมือง อ.อินทร์บุรี ตลอดแนวลำน้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำจะสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 75 เซนติเมตร ในช่วงเช้าของวันที่ 26 กันยายน 2564

   ส่วนลุ่มแม่น้ำน้อย อ.วิเศษฯ ติดต่อกับ อ.ผักไห่ จ.อยุธยาฯ มีน้ำเอ่อล้นตลิ่ง แถว ต.บางจัก บ้างแล้ว 

   ขอให้ชาวอ่างทอง ขนย้ายสิ่งของหนีน้ำ และฟังการแจ้งเตือนเป็นระยะ อนึ่ง คาดการณ์ว่า ปริมาณฝนที่เกิดจากพายุดีเปรสชั่น และมาเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ  จะทำให้มีฝนตกมากในเขต จ.อ่างทอง ประกอบกับมีน้ำฝนค้างทุ่งบ้างแล้ว ทางจังหวัดฯ ได้ประสานกรมชลฯ หากทุ่งใดพร้อม ระบายน้ำเข้าได้เลย เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบคนริมแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย

กรมชลประทาน แจ้งเตือนระดับน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น 75 ซม.

กรมชลประทาน แจ้งเตือนระดับน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น 75 ซม. กระทบอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี บางพื้นที่

กรมชลประทาน แจ้งเตือนระดับน้ำแม่เจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอิทธิพลพายุ #เตี้ยนหมู่ ทำให้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงต้องปรับการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เป็นอัตรา 2,000 ลบ.ม./วินาที (จากอัตรา 1,951 ลบ.ม./วินาที)

ส่งผลกระทบต่อพื้นที่นอกคั้นกันน้ำ บริเวณคลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ชุมชนแม่น้ำน้อย (ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา) คลองโผงเผง จ.อ่างทอง วัดไชโย จ.อ่างทอง และ อ.พรหมบุรี อ.เมือง อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ทำให้ระดับน้ำจะสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 75 เซนติเมตร ในช่วงเช้าของวันที่ 26 ก.ย. 64

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด หากต้องการความช่วยเหลือติดต่อ สายด่วนกรมชลประทาน โทร.1460 ได้ตลอดเวลา

เปรียบเทียบปริมาณน้ำ ปี 2554 เขื่อนภูมิพล เขื่อนต่างๆ ยังสามารถเก็บน้ำได้

http://tiwrmdev.hii.or.th/current/menu.html

ติดตามสถานการณ์ปริมาณน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา

http://www.thaiwater.net/report/chart/chaopraya

เขื่อนเจ้าพระยาติดธงแดง – 26 ก.ย. 64 18.00 น.

“เขื่อนเจ้าพระยา ติดธงแดงแจ้งขณะนี้ระดับน้ำที่เขื่อนถึงจุดวิกฤต” เป็นสัญญานว่าจะระบายน้ำเพิ่มหรือเปล่า ปัจจุบันระบายอยู่ที่ 2,450 ลบม/วินาที ขอให้ประชาชนชาวสิงห์บุรี ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดครับ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง