สิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนต.ค.ค่าซื้อสินค้า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารถ ค่าชดเชยภาษี

11 ตุลาคม 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ขยายความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่อเนื่อง อีก 3 มาตรการ ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563 ได้แก่

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐทะยอยประกาศออกมาใช้

เริ่มแจกวันที่ 1 ตุลาคม 2562

สิทธิ์ให้แก่ : ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกคน
ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษา จากร้านธงฟ้าประชารัฐ 200-300 บาทต่อเดือน
(ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้)
1. ผู้มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี ได้ 300 บาท
2. ผู้มีรายได้เกิน 30,000 บาทต่อปีขึ้นไป ได้ 200 บาท

สิทธ์ให้แก่ : ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกคน
ค่าเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะ แบ่งเป็น
1. รถเมล์ รถไฟฟ้า 500 บาทต่อคนต่อเดือน
2. รถ บขส. 500 บาทต่อคนต่อเดือน
3. รถไฟ 500 บาทต่อคนต่อเดือน
หมายเหตุ : ถ้าเกิน 500 บาท ต้องออกเงินเพิ่มเติมเอง

เริ่มแจกวันที่ 18 ตุลาคม 2562

สิทธิ์แก่ : ครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด และได้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เรียบร้อย (ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2562- กันยายน 2563 ระยะเวลา 11 เดือน)
ค่าน้ำ 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน

สิทธิ์แก่ :  ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด และได้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เรียบร้อย (ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2562- กันยายน 2563 ระยะเวลา 11 เดือน)
ค่าไฟ 230 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน

จ่ายเต็มก่อน คืนเงินส่วนลดคืนตามหลัง

สิทธิ์แก่ :  ร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหารที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 88,189 ราย (ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. – 31 ธ.ค. 2562)
ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 100 บาทต่อเดือน
หมายเหตุ : จ่ายเต็มราคาก่อน เดี๋ยวกรมบัญชีกลางโอนเงินคืนให้ตามหลัง

ซื้อของโดยใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้คืน 5% จากยอดค่าใช้จ่าย และออมให้ 1 %

รัฐจะเก็บภาษี VAT จากผู้มีรายได้น้อยเพียง 2% (จ่ายเอง 1% และนำไปออมให้ 1%) ใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
หมายเหตุ : การคืนเงินภาษีแวตเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะแบ่งเป็น
1. ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะต้องจ่ายภาษีจากการซื้อสินค้าเองตามปกติ ในอัตรา 1%
2. รัฐบาลจะทำการคืนเงินให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้วยการโอนเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์
(e-wallet) ทุกวันที่ 15 ของเดือน จำนวน 5% ซึ่ง เงินส่วนนี้สามารถกดเป็นเงินสดออกมาใช้ได้
3. จะมีการเก็บเงินเข้าบัญชีกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ของผู้ถือบัตรฯ จำนวน 1% เพื่อเป็นเงินออมมีรายได้น้อย หรือหากไม่มีบัญชีกับ กอช. อาจจะเปิดบัญชีเพื่อสะสมไว้.

ทั้งนี้ เมื่อรวมกันทั้งสองส่วนแล้ว ต้องไม่เกิน 500 บาท ต่อคนต่อเดือน ซึ่งเงินชดเชยดังกล่าวกรมบัญชีกลาง จะโอนให้ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากตรงกับวันหยุดจะเลื่อนเป็นวันทำการก่อนวันหยุด

โดยการโอนเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพและช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันให้แก่ผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

วิธีกดเงินจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

บัตรคนจน หรือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นสวัสดิการของรัฐที่ให้วงเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยทุก ๆ เดือน สำหรับรูดซื้อสินค้าต่าง ๆ ที่จำเป็น, ค่าเดินทางรถโดยสารสาธารณะ ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า รถ บขส. และรถไฟ รวมทั้งเงินช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ตามมาตรการที่ออกมา ซึ่งก็มีผู้ถือบัตรหลายคนมีคำถามว่า เงินส่วนไหนที่เราสามารถถอนออกมาเป็นเงินสดได้บ้าง หรือจะนำบัตรคนจนไปใช้เป็นเหมือนบัตร ATM เลยได้ไหม ใครยังสงสัยเรื่องนี้อยู่ มาดูรายละเอียดกันชัด ๆ 
* วงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กดออกมาเป็นเงินสดได้ไหม ?

           บัตรคนจนจะแบ่งวงเงินในบัตรเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ

          1. วงเงินสำหรับซื้อสินค้าจำเป็นผ่านเครื่อง EDC และร้านค้าที่ร่วมรายการ

          เช่น เงินซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคร้านธงฟ้าประชารัฐ 200-300 บาท/เดือน, ค่าโดยสารรถสาธารณะ 500 บาท/เดือน, ค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาท ต่อ 3 เดือน
          สำหรับส่วนนี้ผู้ถือบัตรไม่สามารถกดหรือถอนออกมาเป็นเงินสดได้ เพราะเป็นวงเงินที่สำรองไว้ใช้ผ่าน EDC ของหน่วยงาน หรือร้านค้าที่กำหนดเท่านั้น

          2. วงเงินที่ใส่ลงไปใน e-Money

          เช่น เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ 50-100 บาท/เดือน, เงินคืนภาษี VAT 5% จากการใช้บัตรรูดซื้อสินค้าและบริการผ่านร้านธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งจะสามารถกดเป็นเงินสดได้เลย

ทั้งนี้ จากข้อมูลในเดือนกรกฎาคม 2563 วงเงินที่สามารถถอนจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ มีดังนี้

บัตรคนจน

* วิธีกดเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

          เราสามารถถอนเงินสดจากบัตรคนจนได้ที่ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย โดยทำตามขั้นตอนคือ

1. สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใส่รหัส 6 หลัก

บัตรคนจน

2. เมื่อเข้าหน้าเมนู ให้กดปุ่ม “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ”

บัตรคนจน

         หากตู้ ATM ไหน ไม่มีให้กดเลือก “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” จะไม่สามารถถอนเงินจากบัตรได้ ดังนั้น ต้องหาตู้ ATM ที่เมื่อสอดบัตรและใส่รหัสเข้าไปแล้ว มีข้อความให้กดเลือก “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” แบบนี้
3. กดปุ่ม “ขอดูยอดเงินคงเหลือ”
บัตรคนจน

          เพื่อตรวจสอบว่ามีเงินโอนเข้ามาหรือยัง หรือมียอดเงินที่สามารถกดได้เท่าไร โดยยอดเงินคงเหลือที่ใช้ได้จะแสดงให้เห็นในหน้าจอ

4. ระบบจะถามว่า ท่านต้องการบริการอื่นอีกหรือไม่ หากต้องการถอนเงิน ให้กดปุ่ม “ต้องการ”

บัตรคนจน


5. หน้าจอจะกลับมาที่หน้าเมนู หลังจากนั้นให้กดปุ่ม “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” อีกครั้ง

6. กดปุ่ม “ถอนเงิน”

บัตรคนจน

7. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการถอน (ขั้นต่ำ 100 บาท ถอนได้ไม่เกินครั้งละ 20,000 บาท)




8. เช็กจำนวนเงินที่ต้องการถอน หากถูกต้องให้กดปุ่ม “ถูกต้อง” แล้วรอรับเงิน

บัตรคนจน

* ลืมรหัสกดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทำอย่างไร ?
          หากลืมรหัสบัตร ให้ทำการเปลี่ยนรหัสได้ที่ตู้ ATM ตามขั้นตอนต่อไปนี้
บัตรคนจน
ภาพจาก ธนาคารกรุงไทย

* วิธีเติมเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 

           การกดเงินสดบัตรคนจนนั้น นอกจากวงเงินในส่วน e-Money แล้ว ยังสามารถทำได้ด้วยการเติมเงินเข้าไปในบัตร ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าบัตรคนจนสามารถเติมเงิน-ฝากเงินได้เหมือนกันกับบัตร ATM ทั่วไปเลย

          การเติมเงินเข้าบัตรคนจน สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้  

1. เติมเงินผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย 

กดเงินบัตรคนจน
ภาพจาก Winning7799 / Shutterstock.com
          โดยนำบัตร ATM ของธนาคารกรุงไทยที่ต้องการหักเงินเข้าบัตรคนจน ไปทำรายการได้เลย ณ ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 

          – สอดบัตร ATM ธนาคารกรุงไทย ใส่รหัส 6 หลัก
          – เลือกหัวข้อ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ”          – เลือก “เติมเงินเข้าบัตรสวัสดิการฯ”
          – เลือกประเภทบัญชีที่ต้องการหักบัญชี ได้แก่ ออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวัน/บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ (บัตร ATM เราเป็นเงินฝากประเภทไหนก็เลือกประเภทนั้น)
          – ใส่หมายเลข 16 หลักของบัตรคนจนที่ต้องการเติมเงินเข้าไป
          – ตรวจสอบหมายเลขให้ดี แล้วกด “ถูกต้อง”
          – ระบุจำนวนเงินที่ต้องการโอนเข้าไปในบัตร ตั้งแต่ 100-30,000 บาท แล้วกด “ถูกต้อง”

2. เติมเงินผ่านเครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติของธนาคารกรุงไทย (ADM)
          โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
          – สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เครื่อง ADM
          – เลือกหัวข้อ “ฝาก/บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์”
          – กดปุ่ม “บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์”
          – ตรวจสอบเลขบัญชีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
          – นำเงินสดที่ต้องการฝากใส่ลงในเครื่อง
          – ตรวจสอบความถูกต้องแล้วกด “ถูกต้อง”

 3. เติมเงินผ่านธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ 

กดเงินบัตรคนจน
ภาพจาก Bai-Bua’s Dad / Shutterstock.com
          สำหรับใครที่ไม่อยากทำรายการด้วยตัวเองผ่านตู้ ATM ก็สามารถเติมเงินได้ผ่านธนาคารกรุงไทยทุกสาขา ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้อยู่แล้ว

กดเงินบัตรคนจน
ภาพจาก ธนาคารกรุงไทย
* บัตรสวัสดิการแห่งรัฐสมัคร Internet Banking ได้ไหม 

          อีกหนึ่งความสามารถของบัตรคนจนที่หลายคนอาจยังไม่รู้ คือ สามารถสมัครใช้งาน Internet Banking ได้ด้วย ผ่านบริการ KTB netbank ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งผู้สมัครจะต้องมีบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทยด้วย โดยสามารถสมัคร KTB netbank ได้่ทั้งที่สาขาธนาคารกรุงไทยโดยตรง หรือตู้ ATM ตามขั้นตอนต่อไปนี้

กดเงินบัตรคนจน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก KTB netbank

นอกจากจะเป็นสวัสดิการช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ผู้มีรายได้น้อยแล้ว บัตรคนจนยังถูกออกแบบเพื่อเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้จ่ายของผู้มีรายได้น้อย โดยไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากอีกด้วย 

ขอบคุณที่มาข้อมูลเพื่อคนจน : https://money.kapook.com/view198445.html

เรื่องที่เกี่ยวข้อง