กระทรวงการคลัง เตรียมเสนอจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส “โควิด-19” (COVID-19) จำนวน 15,000 บาท ให้กับครอบครัวเกษตรกร 9 ล้านครัวเรือน ล่าสุด 28 เม.ย. ครม.อนุมัติเงินเยียวยาแล้ว
สามารถตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกรและสมาชิกครัวเรือน เฉพาะที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรเท่านั้น ได้ดังนี้
1. เข้าสู่เว็บไซต์ farmer.doae.go.th
2. ใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
3. กดคำว่า “ค้นหา” จากนั้นระบบจะแสดงข้อมูลที่ได้ลงทะเบียนไว้
นอกจากนี้ในเว็บไซต์ยังมีแบบคำร้องอื่น ๆ อาทิ
การขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2563
• แบบคำร้องขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2563
สำหรับครัวเรือนเกษตรกร | สำหรับนิติบุคคล
• แบบคำร้องอื่นๆ
(ยกเลิกครัวเรือนเกษตรกร/เปลี่ยนหัวหน้าครัวเรือน/เปลี่ยนสถานที่ขึ้นทะเบียน)
กระทรวงคลัง แจงครอบครัวเกษตรกรไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เหตุมีรายชื่อขึ้นทะเบียนทำอาชีพเกษตรแล้ว
กรณีที่บางคนไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกร แต่ไม่ผ่านเกณฑ์รับเงินเยียวยานั้น อาจมาจากสาเหตุดังนี้ คือ เกษตรกรจะมีการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทุกปีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่คือ กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งการขึ้นทะเบียนจะเป็นราย “ครอบครัว” โดยให้หัวหน้าครอบครัวเป็นคนมาขึ้นทะเบียน
ทั้งนี้ในการกรอกรายละเอียดสมาชิกในครอบครัว จะให้ระบุด้วยว่ามีสมาชิกในครอบครัวกี่คน เป็นใครบ้าง และสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยทำเกษตรเกษตรกรรมมีกี่คนคือใครบ้าง
ดังนั้นหากมีการมาลงทะเบียนมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ระบบจะคัดกรองหัวหน้าครอบครัวที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและสมาชิกในครอบครัวเฉพาะที่ช่วยทำเกษตรกรรม ว่าอยู่ในกลุ่มประกอบอาชีพเกษตรกร ซึ่งจะไม่ผ่านเกณฑ์ได้รับเงินช่วยเหลือ
“ที่ผ่านมารัฐบาลใช้ฐานข้อมูลเกษตรกรชุดเดียวกันนี้ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นค่าเพาะปลูก ค่าเก็บเกี่ยว ค่าปัจจัยการผลิต เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเกษตรกร ขอให้รอมาตรการเยียวยาที่จะออกมาช่วยเหลือเกษตรกรโดยเฉพาะในเร็วๆ นี้”
คลังเตรียมเสนอครม.แจกเงินเยียวยาเกษตรกร ครัวเรือนละ 15,000 บาท พรุ่งนี้(28 เม.ย.)
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันที่ 28 เม.ย.นี้จะมีการพิจารณาการช่วยเหลือกับเกษตรกรที่ขึ้นบัญชีเกษตรครัวเรือนละ 15,000 บาท ภายใต้กรอบกู้เงินฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท
โดยการจ่ายเงินดังกล่าว จะให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เป็นผู้ดำเนินการ แต่รายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลา จำนวนครัวเรือนที่จะได้รับและแนวทางการจ่ายเงินนั้น จะต้องรอให้ครม.พิจารณาก่อน
“การแจกเงินเกษตรกรจะใช้ฐานข้อมูลกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหลัก เพราะมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรต่อเนื่องทุกปีอยู่แล้ว ดังนั้นจึงควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบดูแลรายชื่อผู้ที่ควรได้รับสิทธิ์ทั้งหมด แต่จะมีเกษตรกรบางส่วนที่อยู่ในฐานของมูลขึ้นทะเบียนกับ ธ.ก.ส. ก็จะนำไปพิจารณาร่วมว่ามีส่วนไหนตกค้าง เพื่อจ่ายเงินให้ครอบคลุมมากที่สุด”นายอุตตมกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุมครม.จะอนุมัติ ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองเสนอแผนการแจกเงินให้กับอาชีพอิสระ 5,000 บาท ให้มีความต่อเนื่อง จากที่แจกรอบแรกในเดือน เม.ย. เพราะต้องเป็นการใช้เงินกู้ รวมทั้งเสนอมาตรการเยียวยาภาคเกษตร และคลังจะเสนอแผนจัดการเงินกู้ตาม พ.ร.ก.กู้เงิน ซึ่งทั้ง 3 ส่วนจะเกี่ยวข้องกับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งสิ้น
หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร สำหรับเกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม รวมถึงเกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ หรือเกษตรกรรายใหม่ เพื่อให้สามารถ “ลงทะเบียนเกษตรกรรับเงินเยียวยา 15,000” ได้อย่างถูกต้อง ดังนี้
1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
1.1 ครัวเรือนเกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นผู้ประกอบการเกษตร เป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพรองก็ได้
1.2 ครัวเรือนเกษตรกร 1 ครัวเรือน จะมีตัวแทนมาขอขึ้นทะเบียนได้เพียง 1 คน ในการพิจารณาว่าครัวเรือนใดขอขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อนหรือไม่ เจ้าหน้าที่จะต้องชี้แจงรายละเอียดให้เกษตรกร ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับทราบ ตามนิยามที่กําหนด
1.3 เกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องบรรลุนิติภาวะ และมีสัญชาติไทย กรณีที่เป็นนิติบุคคล จะต้องมีการมอบหมายผู้แทนมาขึ้นทะเบียน
2. สถานที่ขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
2.1 เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม
สามารถแจ้งปรับปรุงได้ที่สํานักงานเกษตรอําเภอทุกแห่ง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมและร่วมเป็นหน่วยสนับสนุนที่เกษตรกรมีพื้นที่การเกษตรอยู่, อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) หรือสามารถแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่าน DOAE Farmbook Application ด้วยโทรศัพท์มือถือ (Smartphone) ได้ด้วยตนเอง ดังวิธีต่อไปนี้
2.2 เกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ หรือเกษตรกรรายใหม่
สำหรับเกษตรกรรายใหม่ รวมไปถึงเกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ ให้ยื่นเอกสารที่สํานักงานเกษตรอําเภอที่ตั้งแปลงที่ทํากิจกรรมการเกษตรอยู่ หากมี แปลงที่ทํากิจกรรมการเกษตรหลายพื้นที่ หลายอําเภอ ให้ยื่นที่สํานักงานเกษตรอําเภอที่ตั้งแปลงหลัก (อําเภอที่มีจํานวนแปลงมากที่สุด) กรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์แท็ปเล็ต (Tablet) ขึ้นทะเบียนเกษตรกร เจ้าหน้าที่สามารถรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรราย ใหม่ในพื้นที่ พร้อมวาดผังแปลงไปพร้อมๆ กันในคราวเดียวได้ (เฉพาะพื้นที่ที่มี Internet)
3. เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
3.1 เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม ใช้บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริง
3.2 เกษตรกรรายใหม่ หรือ รายเดิม เพิ่มแปลงใหม่ ใช้บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริง พร้อมหลักฐานแสดงสิทธิการถือครองที่ดินตัวจริง หรือสําเนาที่มีการรับรองสําเนาจากผู้ครอบครอง ทั้งนี้ สามารถเรียกหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม