พักชำระหนี้ทุกประเภท ทุกธนาคาร รถ บัตรเครดิต

มาตรการภาษี เยียวยาผลกระทบ COVID-19 รอบ 2

>>ให้หนักเป็นเบา ช่วยบรรเทาผลกระทบ ลดภาระที่ต้องจ่าย เลื่อนเวลาที่ต้องยื่น ร่วมส่งพลังใจบุคลากร เร่งเพิ่มสภาพคล่องด้านการเงิน >>เราจะผ่านวิกฤต COVID-19 ไปด้วยกัน

มาตรการภาษี เยียวยาผลกระทบ COVID-19 รอบ 1

10 มีนาคม 2563 กรมสรรพากิร แจง มาตรการภาษี เยียวยาผลกระทบ COVID-19 รอบ 1
>> ผู้จ่ายได้เพิ่ม ผู้รับได้เพิ่ม
>> เสริมสภาพคล่องธุรกิจ
>> ส่งเสริมการจ้างงานต่อเนื่อง
>> เพิ่มความเชื่อมั่นตลาดทุน
>> ร่วมเดินหน้าเศรษฐกิจไทย

วันที่ 10 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เรื่อง มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนาต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงทางอ้อม ระยะที่ 1 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. มาตรการด้านการเงิน ประกอบด้วย 4 มาตรการ ดังนี้

1.1 มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยธนาคารออมสินสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 150,000 ล้านบาท ให้แก่สถาบันการเงิน โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี และสถาบันการเงินให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลา 2 ปี วงเงินสินเชื่อสูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท

1.2 มาตรการพักต้นเงินลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) มีมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ด้วยการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้และเงื่อนไขการรับประกันในด้านต่าง ๆ เช่น การพักชำระหนี้เงินต้น การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การขยายระยะเวลาการชำระหนี้ และการผ่อนคลายเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น นอกจากนี้ SFIs บางแห่งยังมีมาตรการสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่อง รวมถึงมีโครงการ Refinance หนี้บัตรเครดิตในอัตราดอกเบี้ยต่ำลง

1.3 มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกแนวทางในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพื่อให้สถาบันการเงินและบริษัทลูกในกลุ่ม สถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่ให้สินเชื่อที่มิใช่สถาบันการเงิน เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในเชิงรุกอย่างทันเหตุการณ์ เช่น ผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อปกติ เพิ่มความยืดหยุ่นในการอนุมัติเงินกู้ เพื่อให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจหรือดำเนินชีวิตประจำวันต่อไปได้

1.4 มาตรการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานของสำนักงานประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมจะร่วมกับสถาบันการเงินสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 30,000 ล้านบาท ให้แก่สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และต้องรักษาจำนวนผู้ประกันตนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้ประกันตน ณ วันที่ได้รับสินเชื่อเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ยังคงสามารถจ้างลูกจ้างต่อไปได้ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน

2. มาตรการภาษี ประกอบด้วย 4 มาตรการ ดังนี้

2.1 มาตรการคืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ โดยลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากอัตราร้อยละ 3 เหลืออัตราร้อยละ 1.5 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 และลดเหลืออัตราร้อยละ 2 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามข้อกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ที่จ่ายผ่านระบบการหักภาษี ณ ที่จ่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax)

2.2 มาตรการภาษีเพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่ายของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ที่เข้าร่วมมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และมีการจัดทำบัญชีเดียว สามารถหักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า สำหรับรายจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563

2.3 มาตรการส่งเสริมเสถียรภาพของการจ้างงานในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถหักรายจ่ายได้ 3 เท่า สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างของเดือนเมษายน 2563 ถึงเดือนกรกฎาคม 2563 ให้แก่ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมและได้รับค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อเดือน โดยต้องคงการจ้างงานในช่วงดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าจำนวนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน ณ วันสุดท้ายของเดือนธันวาคม 2562

2.4 มาตรการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศ โดยพิจารณาคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี กรณียื่นแบบ ภ.พ.30 ทางอินเทอร์เน็ตจะได้รับคืนภายใน 15 วัน และกรณียื่นแบบ ภ.พ.30 ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาจะได้รับคืนภายใน 45 วัน

3. มาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ ประกอบด้วย 4 มาตรการ ดังนี้

3.1 มาตรการบรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ รัฐวิสาหกิจ กระทรวงเจ้าสังกัดที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานกำกับ (Regulator) บรรเทาภาระโดยพิจารณาถึงแนวทางการลดและเลื่อนการชำระค่าน้ำและค่าไฟ หรือแนวทางที่เหมาะสม เช่น คืนค่าประกันการใช้ไฟบางส่วน เป็นต้น ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส COVID-19

3.2 มาตรการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อลดอัตราเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2533 จากอัตราร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 0.1 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยเงินสมทบของรัฐบาลให้คงอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.75 ของค่าจ้าง พร้อมทั้งปรับลดจำนวนเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และรัฐจ่ายเงินสมทบในจำนวนเท่าเดิม เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้างและผู้ประกันตนในการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในช่วงที่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19

3.3 มาตรการบรรเทาภาระค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าตอบแทนในการให้บริการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจลดหรือชะลอหรือเลื่อนการเก็บค่าธรรมเนียม ค่าเช่าราชพัสดุ ค่าตอบแทนในการให้บริการ หรือค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อบรรเทาภาระให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส COVID-19

3.4 มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยลดระยะเวลาการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ และระยะเวลาการเผยแพร่ประกาศและเอกสารซื้อหรือจ้าง สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ปรับเพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเกิดความรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงให้หน่วยงานเร่งดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนปีเดียวที่เป็นการจัดหาพัสดุที่มีวงเงินต่อรายการไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2563

3.5 มาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน โดยให้ประชาชนทั่วไปหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund หรือ SSF) ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยแยกจากวงเงินหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนใน SSF กรณีปกติ และไม่อยู่ภายใต้เพดานวงเงินหักลดหย่อนรวมในกองทุนเพื่อการเกษียณทั้งหมด โดยต้องซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ทั้งนี้ เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

3.6 มาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 โดยกำหนดให้มีแนวทางให้ส่วนราชการสามารถจ่ายเงินเพื่อป้องกัน เยียวยา สร้างแรงจูงใจในการคงการจ้างงาน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการเฉพาะและเร่งด่วน โดยได้เตรียมวงเงิน 20,000 ล้านบาท จากงบกลาง เพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าวเป็นการเฉพาะ

รัฐแจก 2,000 บาทต่อคน (เดือนละ 1,000 บาท) เป็นเวลา 2 เดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ (นายกฯสั่งยกเลิกการแจก)

ธปท. ได้ร่วมกับสถาบันการเงิน กำหนดมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ธุรกิจทุกประเภท พักชำระหนี้ทุกประเภท ทุกธนาคาร รถ บัตรเครดิต

6 มีนาคม 2563

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงในวงกว้างต่อธุรกิจ และประชาชน ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. มองว่า

  • จีดีพีของไทยจะขยายตัวลดลง ทำให้สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้น 79%
  • ขณะที่การส่งออกและค่าเงินบาท
  • ภัยแล้ง น้ำท่วม
  • PM 2.5

ทำให้แรงงานและสังคมไทยได้รับผลกระทบนั้น สศช. หวั่นปัจจัยลบถล่มสังคมไทย

ล่าสุด ทางด้านนายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) กล่าวว่า ธปท. ได้ร่วมกับสถาบันการเงิน กำหนดมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ธุรกิจทุกประเภท

และครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเน้นการให้ความช่วยเหลือด้านคล่องและเร่งปรับโครงสร้างหนี้ กำหนดเป็นมาตรการชั่วคราว ระยะเวลา 2 ปี ระหว่าง 1 มกราคม 63 – 31 ธันวาคม 64 ดังนี้

  • ให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่ม
  • พักชำระหนี้เป็นการชั่วคราว
  • ขยายระยะเวลาการชำระหนี้
  • ลดดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม
  • ผ่อนชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตได้ต่ำกว่าร้อยละ 10
  • เพิ่มวงเงินชั่วคราวสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อช่วยให้ลูกหนี้สามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปได้

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย Bank of Thailand

ทั้งนี้ เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึง และทันท่วงที ธปท. จึงได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดชั้นและการกันเงินสำรอง รวมทั้ง การรายงานข้อมูลเครดิตของลูกหนี้เพื่อให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

ธปท.คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าลูกหนี้จะได้รับประโยชน์ จากการดำเนินการตามมาตรการข้างต้น และส่งผลให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพสามารถพลิกฟื้นธุรกิจได้ทันท่วงที

ทั้งนี้ สามารถติดตามมาตรการการให้ความช่วยเหลือต่างๆ ของแต่ละสถาบันการเงินผ่านเว็บไซต์ของสถาบันการเงินนั้นๆ และ ธปท.

infographic มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้

มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงิน
ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

ที่มาตารางมาตรการช่วยเหลือ : https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Pages/FI_Support.aspx?fbclid=IwAR0aRyjlXIk9ifL1hgLNKLRcRpNxNW-VcW-pCu9OHFHNUIHI6qIkeSV5aTA

สถาบันการเงิน มาตรการให้ความช่วยเหลือรายละเอียดเพิ่มเติม
​ธ.กรุงเทพลูกหนี้ธุรกิจสินเชื่อเดิมที่มีกับธนาคาร พักชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือนให้สินเชื่อเพิ่มลูกหนี้ SMEs ให้สินเชื่อประเภท PN ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และสามารถต่ออายุได้โดยมีระยะเวลารวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 1 ปี วงเงินให้ความช่วยเหลือสูงสุด 20 ล้านบาทสำหรับลูกหนี้รายใหญ่พิจารณาสินเชื่อเพิ่มตามความเหมาะสมเป็นรายกรณีลูกหนี้รายย่อย (สินเชื่อบัตรเครดิต)ผ่อนผันลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราปกติร้อยละ 50ผ่อนผันลดจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระเหลือไม่เกินร้อยละ 10ผ่อนผันยกเว้นดอกเบี้ยจากหนี้ที่ค้างชำระสินเชื่อรายย่อยอื่นๆ (สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, สินเชื่อบุคคล)พิจารณาผ่อนปรนการชำระหนี้เป็นรายกรณี>>อ่านรายละเอียด ​
เบอร์ติดต่อสอบถาม 1333
​ธ.กสิกรไทยลูกค้าธุรกิจสินเชื่อเพื่อธุรกิจ (ประเภทเงินกู้) : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 เดือนวงเงินหมุนเวียน (ประเภทตั๋ว) : ขยายตั๋วครั้งละไม่เกิน 3 เดือน  สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักร : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 เดือนลูกค้ารายย่อยสินเชื่อบ้านกสิกรไทย และ สินเชื่อที่อยู่อาศัยอื่นที่มีหลักประกัน : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 เดือนสินเชื่อบัตรเครดิต และ สินเชื่อส่วนบุคคล : ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยถึงรอบบัญชีเดือนธันวาคม 2563สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ : ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนสูงสุด 50% ระยะเวลาสูงสุด 12 เดือน และขยายระยะเวลาการผ่อนสูงสุด 6 เดือน โดยรวมสัญญาล่าสุดต้องไม่เกิน 7 ปีเบอร์ติดต่อ K-Contact Center 0 2888 8888
​ธ.ไทยพาณิชย์ลูกค้าธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ออกมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจให้กับลูกค้าธุรกิจด้วยการพักชำระหนี้เงินต้น สูงสุด 12 เดือนขยายระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือนขยายระยะเวลาวงเงินหมุนเวียน (P/N, T/R, P/C สูงสุด 6 เดือนลูกค้าบุคคลและผู้ประกอบการรายย่อยธนาคารไทยพาณิชย์ออกมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจให้กับลูกค้าบุคคลและผู้ประกอบการรายย่อยด้วยการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อย : พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือนสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ : พักชำระค่างวดสูงสุด 6 เดือนสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล : พักชำระยอดขั้นต่ำสูงสุด 6 เดือนหมายเหตุ เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนดโดยลูกค้าที่ประสงค์จะพักชำระหนี้สามารถติดต่อ
• ผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์
• สาขาทั่วประเทศ
• Call Center 0 2777 7777
ธ.กรุงไทยลูกหนี้ธุรกิจพักชำระหนี้เงินต้นตามระดับผลกระทบ ทั้งนี้ไม่เกิน 12 เดือนขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้สอดคล้องกับธุรกิจ สำหรับลูกค้ารายที่ใช้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อเดิม สามารถขยายระยะเวลาค้ำประกันออกไปได้อีก 5 ปี โดยลูกค้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ และเป็นไปตามเกณฑ์ของ บสย. >>อ่านรายละเอียดเบอร์ติดต่อสอบถาม
Krungthai Call Center
0 2111 1111
​ธ.กรุงศรีอยุธยามาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกค้าสินเชื่อเพื่อธุรกิจผ่อนปรนเงื่อนไขสำหรับวงเงินกู้ระยะยาวเป็นระยะเวลาสูงสุด 12 เดือน ผ่อนปรนเงื่อนไขสำหรับวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนเป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน
ลดดอกเบี้ยสูงสุด 2% จากอัตราดอกเบี้ยปกติ เป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน มาตรการช่วยเหลือสำหรับลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ประกอบด้วยลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อบุคคลพักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 6 เดือนปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวดลูกค้าสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อยพักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 6 เดือนปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด (แล้วแต่กรณี)ลูกค้าสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อยพักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน
ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวด 
​>>อ่านรายละเอียดลูกค้าสามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่ Krungsri Call Center 1572 และสาขาของธนาคารกรุงศรีทั่วประเทศ
ธ.ยูโอบีลูกหนี้ธุรกิจพักชำระหนี้เงินต้น (Grace Period) สูงสุด 12 เดือน ลูกหนี้รายย่อยปรับลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำของสินเชื่อบัตรเครดิต>>อ่านรายละเอียดเบอร์ติดต่อสอบถาม
​0 2285 1555
ธ.ทิสโก้ลูกหนี้ธุรกิจ– พิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณีลูกหนี้รายย่อย– ผ่อนปรนการชำระเงินต้นชั่วคราวไม่เกิน 6 เดือน- ลดภาระการผ่อนชำระ- ขยายระยะเวลาการชำระหนี้- ลดค่าธรรมเนียมเบอร์ติดต่อสอบถาม
0 2080 6000
หรือ 0 2633 6000
​ธ.ธนชาต​ลูกหนี้รายย่อย สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ธนชาต DRIVE : พักชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 60 วัน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 96 งวด เมื่อครบกำหนดพักชำระหนี้สินเชื่อเล่มแลกเงิน : พักชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 60 วันสินเชื่อบ้านธนชาต : พักชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 3 เดือนสินเชื่อบุคคลธนชาต : พักชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 3 เดือนบัตรเครดิตธนชาต : ลดยอดชำระขั้นต่ำเหลือ 5% หรือ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 3 เดือนบัตรกดเงินสด Flash Plus ลดยอดชำระขั้นต่ำเหลือ 1% หรือ 100 บาท สูงสุดไม่เกิน 3 เดือนลูกค้าธุรกิจสินเชื่อ SMEs รายย่อย
– Term loan : พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน
– O/D ลดอัตราดอกเบี้ยลง 1.50% จากสัญญาเดิม ระยะเวลา 3 เดือนสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่
– Term loan : พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน หรือ ขยายเวลาเงินกู้สูงสุด 6 เดือน
– Short term loan (Working Capital & Trade Finance): ขยายเวลาชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน
>>อ่านรายละเอียด
​เบอร์ติดต่อสอบถาม 1770
​ธ.ทหารไทย​ลูกหนี้รายย่อยสินเชื่อบ้าน: พักชำระหนี้ (เงินต้นและดอกเบี้ย) ได้สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติสินเชื่อบัตรเครดิต: ยกเว้นการชำระยอดการใช้จ่ายบัตรเครดิต เป็นเวลา 3 รอบบัญชี นับจากวันที่ลูกค้าโทรติดต่อเข้ามาแจ้งความประสงค์ โดยลูกค้าสามารถเริ่มชำระยอดใช้จ่ายบัตรเครดิต ตั้งแต่รอบบัญชีที่ 4 เป็นต้นไปสินเชื่อบุคคล:
– พักชำระหนี้ (เงินต้น ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม (ถ้ามี)) ได้สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดให้กลับมาชำระหนี้ตามปกติ
– ขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้เพิ่มขึ้นอีก 3 เดือน หรือ จนกว่าจะชำระคืนเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม (ถ้ามี) ครบถ้วนบัตรกดเงินสด: ยกเว้นการชำระคืนเงินต้น ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม (ถ้ามี) ได้สูงสุดไม่เกิน 3 รอบบัญชี ตั้งแต่รอบบัญชีที่ 4 ลูกค้ากลับมาชำระหนี้ตามปกติลูกหนี้ธุรกิจสินเชื่อลูกค้า SMEพักชำระหนี้เงินต้นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน (6-month grace period) และขยายเวลาชำระหนี้ออกไปอีก 6 เดือนวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) ลดอัตราดอกเบี้ยลง 1.50% จากสัญญาสินเชื่อปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 3 เดือนสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่กรณีมีวงเงินกู้ระยะยาว (Term Loan) ขอพักชำระเงินต้นได้สูงสุด 6 เดือนและขอขยายเวลาการผ่อนชำระออกไปได้อีก 6 เดือน สูงสุดได้ 2 ครั้ง รวม 12 เดือน (ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคาร)กรณีมีวงเงินกู้ระยะสั้น ODB, O/D, RPN ธนาคารขยายเวลาชำระเงินให้ 3 เดือน สูงสุดได้ 2 ครั้ง รวม 6 เดือน และอัตราดอกเบี้ยพิเศษกรณีมีวงเงินกู้ Trade Finance ธนาคารขยายเวลาพักชำระเงินให้ 3 เดือน สูงสุดได้ 2 ครั้ง รวม 6 เดือนกรณีมีวงเงินกู้ LC: Letter of Credit ที่ครบกำหนดชำระเงิน สามารถแปลงวงเงิน LC เป็นวงเงิน TR ได้ โดยมีอายุวงเงิน TR ไม่เกิน 6 เดือนระยะเวลาโครงการ: 1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2563เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
มาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อเพื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่เป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าประกอบธุรกิจบริการท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก ธุรกิจร้านค้าปลีกสำหรับนักท่องเที่ยว,ธุรกิจผลิตภัณฑ์การเกษตร, ธุรกิจการขนส่ง, ธุรกิจเช่ารถ หรือธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
>>อ่านรายละเอียดช่องทางการขอเข้าร่วมโครงการ:ธนาคาร ทีเอ็มบี ทุกสาขา หรือ TMB Contact Center 1558       
     ช่องทางการขอเข้าร่วมโครงการ:
ผู้บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ TMB
TMB Corporate Call Center 0 2643 7000
ธ.เกียรตินาคิน​ลูกหนี้ธุรกิจ  (ธุรกิจอพาร์ตเมนต์โรงแรม)พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุด 18 เดือน ลูกหนี้รายย่อยพักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือนส่วนลดดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาชำระหนี้ >>อ่านรายละเอียด
เบอร์ติดต่อสอบถาม
0 2165 5555
ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)สำหรับลูกค้าองค์กรระดับใหญ่ ธนาคารจะพิจารณามาตรการการให้ความช่วยเหลือตามระดับผลกระทบเป็นรายกรณี ดังนี้พักชำระหนี้เงินต้น และ/หรือปรับลดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาสูงสุด 12 เดือนผ่อนปรนเงื่อนไขสำหรับวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนเป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน>>อ่านรายละเอียด​โทร. : 0 2724 4000
ธ.ไอซีบีซี (ไทย)ผ่อนปรนการชำระหนี้เงินต้นชั่วคราวเป็นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน ทั้งลูกค้าธุรกิจและลูกค้าบุคคลธรรมดา*เพิ่มวงเงินสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือการดำเนินธุรกิจของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ*ผ่อนปรนอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำสำหรับลูกค้าบัตรเครดิตที่ได้รับผลกระทบ*หมายเหตุ *ธนาคารจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกค้าปัจจุบันของธนาคารเป็นรายกรณี  >>อ่านรายละเอียดโทร. : ​0 2629 5588
ธ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์​ลูกหนี้ธุรกิจ ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระ เช่น ปลอดเงินต้นสูงสุด 12 เดือน และ ขยายระยะเวลาเงินกู้ เพื่อให้ภาระการผ่อนชำระลดลงหลังหมดช่วงปลอดเงินต้นสนับสนุนสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มช่วยเหลืออื่นๆ ตามที่เห็นสมควรโดยพิจารณาเป็นรายๆ ไป >>อ่านรายละเอียด
โทร. : 0 2359 0000
หรือ 1327
ธ.ไทยเครดิตเพื่อรายย่อยลูกหนี้ SMEs ทั้งบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
พักชำระหนี้เงินต้น (Grace Period) สูงสุดไม่เกิน 24 เดือนปรับลดจำนวนเงินการผ่อนชำระค่างวด และขยายระยะเวลาเงินกู้ออกไปสูงสุดไม่เกิน 24 เดือน
  
​โทร. : 0 2697 5300
หมายเหตุ : คุณประเสริฐ สุขคำ ต่อ 1946 /
คุณทัศนียา สุริยะกมล ต่อ 1956 /
คุณสุดใจ ผดุงทรัพย์ ต่อ 1945 /
คุณจริญญา เกษมจินดา ต่อ 1917
ธ.ซีไอเอ็มบี (ไทย)มาตรการสำหรับลูกค้ารายย่อยผ่อนปรนการผ่อนชำระค่างวดชั่วคราวลดภาระการผ่อนชำระขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้มาตรสำหรับลูกค้าธุรกิจกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ที่ดูแลท่าน>>อ่านรายละเอียดโทร. : 02-626-7777
ธ.ออมสินโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ให้สินเชื่อเพิ่มวงเงินสูงสุด 50,000 บาท ผ่อนชำระคืนสูงสุด 5 ปี และปลอดชำระหนี้ 6 งวดแรก แก่ผู้ประกอบการ ผู้มีอาชีพอิสระ พนักงานลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม ยื่นคำขอได้ภายใน 30 กันยายน 2563ลดดอกเบี้ยให้สูงสุด 20% ของดอกเบี้ยจ่าย ระยะเวลา 1 ปี พักเงินต้นไม่เกิน 2 ปี และขยายเวลาชำระหนี้ ยื่นคำขอได้ภายใน 31 ธันวาคม 2563>>อ่านรายละเอียด
โทร. 1115​
ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)​ลูกค้ารายย่อยเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภัยแล้ง ขยายเวลาชำระหนี้เดิมออกไป 2 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง
ปี 2563 วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท เกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งสามารถกู้
เพื่อลงทุนได้รายละไม่เกิน 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก 0%
ส่วนปีที่ 3 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-2% (ปัจจุบัน MRR= 6.875%)
กำหนดชำระคืนไม่เกิน 10 ปี สนับสนุนสินเชื่อตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 ธันวาคม 2563   มาตราการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยลูกหนี้จัดชั้นประเภทลูกหนี้ต้นเงินกู้เดิมดอกเบี้ยต้นเงินเดิมดอกเบี้ยใหม่จากเงินต้นที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้สินเชื่อเพิ่มเติม(working capital หรือ ค่าใช้จ่ายประกอบอาชีพ)ปกติและกล่าวถึงเป็นพิเศษ (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 63)

เกษตรกรและบุคคลขยายเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 15 ปี ปลอดชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปีแรกชำระแล้วเสร็จภายใน 15 ปีอัตราไม่ต่ำกว่า MRRดอกเบี้ยตามชั้นลูกหนี้ – 0.25 ระยะเวลา 1 ปี และวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท/รายผู้ประกอบการและสถาบันขยายเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 20 ปี ปลอดชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปีแรกชำระแล้วเสร็จภายใน 20 ปีอัตราไม่ต่ำกว่า MLRอัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า MLR – 1NPL (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 62)  เกษตรกรและบุคคล
ขยายเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 15 ปี ปลอดชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปีแรกชำระแล้วเสร็จภายใน 15 ปีอัตราไม่ต่ำกว่า MRR – 1ดอกเบี้ยตามชั้นลูกหนี้ – 0.25 ระยะเวลา 1 ปี และวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท/รายผู้ประกอบการและสถาบันขยายเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 20 ปี ปลอดชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปีแรกชำระแล้วเสร็จภายใน 20 ปีอัตราไม่ต่ำกว่า MLR – 0.5อัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า MLR – 1
>>อ่านรายละเอียดโทร. 0 2555 0555
ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.)​มาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ลูกค้าเดิมของ ธอส. ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ปรับลดดอกเบี้ยและเงินงวดผ่อนชำระไม่เกิน 4 เดือนยื่นคำขอได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2563​  มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการปิด-เลิกจ้างงานลูกหนี้ที่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เลิก/ปิดกิจการ และเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้าง
หรือเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างเป็นการชั่วคราว รวมถึงลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบต่อรายได้จากการทำงานจากภาวะเศรษฐกิจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 2.50% ต่อปี ระยะเวลา 6 เดือนยื่นคำขอไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2563
>>อ่านรายละเอียด 1
​โทร ​0 2645 9000>>อ่านรายละเอียด 2
​โทร ​0 2645 9000 
 
ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)มาตรการลดภาระผู้ส่งออกไทย สู้ภัยไวรัสโคโรนา
ด้านสินเชื่อพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุด 6 เดือน รวมทั้งขยายระยะเวลาให้ต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงิน (รวมอายุตั๋วเดิมไม่เกิน 360 วัน)ขยายระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดได้สูงสุด 5 ปี สำหรับลูกค้าที่มีการค้ำประกันสินเชื่อโดย บสย. PGS ระยะที่ 5-7 โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมระยะเวลาให้บริการ 4 กุมภาพันธ์ – 31 ธันวาคม 2563ด้านรับประกันการส่งออกขยายเทอมการชำระเงินที่ให้ความคุ้มครองสำหรับลูกค้าประกันการส่งออก ที่มีการส่งออกไปยังผู้ซื้อในประเทศจีน โดยไม่คิดค่าเบี้ยประกันเพิ่ม กรณีขยายเทอมไม่เกิน 180 วัน (หากขยายเกิน 180 วันแต่ไม่เกิน 270 วัน จะเรียกเก็บเบี้ยประกันเพียง 50%)เพิ่มความคุ้มครองให้กับการส่งออกสินค้าเน่าเสียง่ายในกรณีที่ผู้ซื้อในประเทศจีนไม่รับมอบสินค้าเป็นกรณีพิเศษ ในอัตรา 50% ของมูลค่าใบกำกับสินค้า ทั้งนี้ต้องไม่เกินวงเงินรับประกันลดระยะเวลาการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมทดแทนระยะเวลาให้บริการ 4 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม 2563มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ด้านสินเชื่อวงเงินกู้ระยะยาวเพื่อซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ หรือเพื่อต่อเติมปรับปรุงโรงงาน วงเงินสูงสุดไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 7 ปี หลักประกันขั้นต่ำ 40% สำหรับกลุ่มลูกค้า SMEs ใช้ บสย. ค้ำประกันได้ (โครงการ PGS 8) อัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก 2.00% ระยะเวลาให้บริการ 31 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563
>>อ่านรายละเอียด 1>>อ่านรายละเอียด 2​โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 4120-4
​ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)มาตรการด่วนช่วยเหลือ SMEs ไทยจากผลกระทบไวรัสโคโรนาพักชำระหนี้เงินต้น สำหรับลูกค้าบัญชีประเภทเงินกู้ระยะยาว นานสูงสุด 12 เดือนขยายเวลาชำระหนี้ โดยขยายเวลาให้สอดคล้องกับธุรกิจได้ และสำหรับลูกค้า
ที่ใช้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อเดิมสามารถขยายระยะเวลาค้ำประกันออกไปได้อีก 5 ปี
โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเติมทุนสินเชื่อดอกเบี้ยถูกนิติบุคคล 3% ต่อปี ใน 3 ปีแรก บุคคลธรรมดา 5% ต่อปีใน 3 ปีแรก
>>อ่านรายละเอียด
โทร. : 1357
​ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)ลูกค้าสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อเพื่อธุรกิจ
โดยเฉพาะภาคธุรกิจการท่องเที่ยวรวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมพักชำระหนี้เงินต้นและชำระเฉพาะกำไรนานสูงสุด 12 เดือน (ทั้งนี้ ไม่เกินเดือนธันวาคม 2563)ยื่นคำขอไม่เกินวันที่ 30 เมษายน 2563 ณ สาขาของธนาคารทั่วประเทศ
>>อ่านรายละเอียด
โทร. : 1302
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)มาตรการพักการชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อเป็นระยะเวลา 12 เดือน
สำหรับลูกค้า SMEs เดิม ของ บสย. ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
ได้แก่ ธุรกิจบริการท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก หรือธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และเป็นลูกค้า บสย. ที่ถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม 2563มาตรการ “ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย” ช่วยเหลือ SMEs ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง โดยสถาบันการเงินได้ปรับปรุงเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้ และมีการเติมทุนสร้างสภาพคล่อง สามารถใช้โครงการ “บสย. SMEs สร้างไทย” ได้ทันที รับคำขอค้ำประกันจนถึง 31 ธันวาคม 2563มาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนจากเหตุการณ์โคราช ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อธุรกิจ 2 ปีแรก
สำหรับ SMEs ที่ได้รับการผ่อนปรนการชำระหนี้กับธนาคาร และต้องการเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ขยายสภาพคล่อง
>>อ่านรายละเอียด 1>>อ่านรายละเอียด 2>>อ่านรายละเอียด 3โทร. : 0 2890 9999
บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.)
    มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า (โควิด-19)มาตรการที่ 1 : ปรับลดดอกเบี้ยเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่มีนาคม – สิงหาคม 2563มาตรการที่ 2 : ปรับลดค่างวดร้อยละ 50 ของค่างวดที่กำหนดไว้เดิม เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่มีนาคม – สิงหาคม 2563
มาตรการที่ 3 : พักชำระหนี้เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่มีนาคม – สิงหาคม 2563
ยื่นคำขอได้ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
​>>อ่านรายละเอียดโทร. : 0 2018 3636

เรื่องที่เกี่ยวข้อง