ครม.เห็นชอบแผนการจัดหาและฉีดวัคซีนแก่ประชาชน

5 พ.ค. 65 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เสนอแผนจัดหารและฉีดวัคซีน เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่ฃได้รับความเห็นชอบจากครม. ดังนี้

แผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเสนอแผนฯ ดังนี้

                  1) แผนการฉีดวัคซีนให้ครบทุกกลุ่มเป้าหมาย 100,000,000 โดส ความครอบคลุมของวัคซีนร้อยละ 70 ของประชากรไทย ภายในปี 2564 (เดือนพฤษภาคม – ธันวาคม 2564) ขณะนี้ประเทศไทย
มีการจัดหาวัคซีนแล้ว 63,000,000 โดส จึงต้องจัดหา จัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 เพิ่มเติมสำหรับประชากรในประเทศไทย จำนวน 18,500,000 คน หรือวัคซีนจำนวนประมาณ 37,000,000 โดส โดยการจัดซื้อรวมเป็นวัคซีนที่ประเทศไทยจัดหา จัดซื้อสำหรับประชากรทั้งสิ้น จำนวน 50,000,000 คน หรือวัคซีนจำนวนประมาณ จำนวน 100,000,000 โดส

                  2) แผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ของประเทศไทย พ.ศ. 2564

วัคซีนวัคซีนถึงประเทศไทย
1) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 2,500,000 โดส (เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2564)
1.1) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน    200,000 โดสวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564
1.2) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน    800,000 โดสวันที่ 27 มีนาคม 2564
1.3) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 1,000,000 โดสวันที่ 10 เมษายน 2564
1.4) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน    500,000 โดสปลายเดือนเมษายน 2564
2) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 26,000,000 โดส (เดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2564)
และจัดหาเพิ่มเติมอีก 37,000,000 โดส
2.1) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน     6,000,000 โดสเดือนมิถุนายน 2564
2.2) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน   10,000,000 โดสเดือนกรกฎาคม 2564
2.3) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน   10,000,000 โดสเดือนสิงหาคม 2564
3) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 35,000,000 โดส (เดือนกันยายน – ธันวาคม 2564)
3.1) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน   10,000,000 โดสเดือนกันยายน 2564
3.2) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน   10,000,000 โดสเดือนตุลาคม 2564
3.3) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน   10,000,000 โดสเดือนพฤศจิกายน 2564
3.4) วัคซีน AstraZeneca  จำนวน     5,000,000 โดสเดือนธันวาคม 2564

                 3) กำหนดการเสร็จสิ้นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ทุกกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายวัคซีนผลการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19
(1) บุคลากรทางการแพทย์Sinovac– ฉีดแล้ว ร้อยละ 95- ฉีดเสร็จสิ้น  2 เข็ม ครบร้อยละ 100 ภายใน
เดือนพฤษภาคม 2564
(2) เจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่เสี่ยงสัมผัสโรคSinovac– ฉีดแล้ว ร้อยละ 20- ฉีดเสร็จสิ้น 2 เข็ม ครบร้อยละ 100 ภายใน
เดือนมิถุนายน 2564
(3) กลุ่มอาชีพเสี่ยง เช่น พนักงานขับรถสาธารณะ       และครู เป็นต้นAstraZeneca– ฉีดแล้วจำนวนหนึ่ง (ต่ำกว่าร้อยละ 5)- ฉีดเสร็จสิ้นเข็มที่ 1 ครบร้อยละ 100 ภายใน
เดือนมิถุนายน 2564
(4) ประชาชนผู้ที่มีโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุAstraZeneca– ฉีดแล้วจำนวนหนึ่ง (ต่ำกว่าร้อยละ 5)- ฉีดเสร็จสิ้นเข็มที่ 1 ครบร้อยละ 100 ภายใน
เดือนกรกฎาคม 2564
(5) ประชาชนทั่วไปAstraZeneca– ฉีดแล้วจำนวนหนึ่ง (ต่ำกว่าร้อยละ 5)- ฉีดเสร็จสิ้นเข็มที่ 1 ครบร้อยละ 100 ภายในเดือนกันยายน 2564

 ที่ประชุมมีมติ ดังนี้

                        (1) รับทราบแผนการจัดหาและการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 จำนวน 100,000,000 โดส
และโครงการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 เพิ่มเติม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

                     (2) เห็นชอบในหลักการการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ให้มีความหลากหลาย เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครอบคลุมร้อยละ 70 โดยเร็วที่สุด ได้แก่

                        (2.1) ภาครัฐจัดหาวัคซีน ประกอบด้วย วัคซีน Pfizer Biontech จำนวน 5,000,000 -20,000,000 โดส วัคซีน Sputnik V จำนวน 5,000,000 – 10,000,000 โดส วัคซีน Johnson & Johnson จำนวน 5,000,000 – 10,000,000 โดส วัคซีน Sinovac จำนวน 5,000,000 – 10,000,000 โดส และวัคซีนอื่น ๆ เช่น วัคซีน Moderna วัคซีน Sinopharm วัคซีน Bharat หรือวัคซีนอื่นที่จะมีการขึ้นทะเบียนในอนาคต รวมงบประมาณค่าวัคซีน และเวชภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมอบกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

                        (2.2) ภาคเอกชนจัดซื้อวัคซีนอื่น ๆ เพิ่มเติม ตามแนวทางความร่วมมือการจัดหาวัคซีนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี

                 1. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด – 19 (ศปก.สธ.) สื่อสารและชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน โดยจัดทำแผนภาพในการสื่อสารที่เข้าใจง่าย (อาทิ ในรูปแบบ infographic ฯลฯ) เกี่ยวกับขั้นตอนการคัดกรองและการส่งต่อผู้ป่วยโควิด – 19 และช่องทางการติดต่อเพื่อเข้ารับการรักษาในสถานที่ต่าง ๆ ให้ชัดเจน เช่น โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลสนาม เป็นต้น

                  2. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด – 19 (ศปก.สธ.) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการสำรวจข้อมูลความต้องการฉีดวัคซีนป้องกัน
โรคโควิด – 19 และเตรียมความพร้อมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ให้แก่กลุ่มนักการทูตและเจ้าหน้าที่การทูตที่พำนักในประเทศไทยต่อไป

6 พ.ค. 64 ถึงไทยแล้ว วันนี้! วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค 1 ล้านโดส

ถึงไทยแล้ว วันนี้! วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค 1 ล้านโดส

องค์การเภสัชกรรม (GPO) เผย วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค จากประเทศจีน จำนวน 1 ล้านโดส ถึงไทยแล้ว วันนี้ 6 พฤษภาคม 2564 เวลา 05.35 น. โดยบรรจุในตู้ Envirotainer ระบบ Cold Chain ควบคุมอุณหภูมิ ตลอดการขนส่งเพื่อรักษาคุณภาพ
วัคซีนทั้งหมดนี้ จะขนส่งไปจัดเก็บยังคลังสำรองวัคซีนโควิด-19 ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศา ที่ศูนย์กระจายสินค้าของบริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด จากนั้นองค์การเภสัชกรรม จะเร่งดำเนินการตรวจรับวัคซีน และส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน เมื่อผ่านการตรวจสอบทุกขั้นตอนแล้ว จะส่งให้กรมควบคุมโรค เร่งกระจายวัคซีนไปยังสถานพยาบาลต่างๆ เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายตามแผนโดยเร็วที่สุด
ก่อนหน้านี้ ไทยนำเข้าวัคซีนมาแล้ว 2.5 ล้านโดส รวมยอดนำเข้าวัคซีนซิโนแวคจากประเทศจีนในวันนี้ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3.5 ล้านโดส

7 พ.ค. 64 ผลการประชุมคณะทำงานพิจารณาการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่

ผลการประชุมคณะทำงานพิจารณาการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ น.พ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร เป็นประธานคณะทำงาน ถึงแนวทางในการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 สำหรับใช้ในสถานพยาบาลของรัฐ และวัคซีนทางเลือกเพื่อนำมาให้บริการในสถานพยาบาลเอกชน โดยควรกำหนดให้วัคซีนโควิด-19 เป็นสินค้าควบคุม ซึ่งสถานพยาบาลภาคเอกชนควรคัดเลือกวัคซีนโควิด-19 ทางเลือก ที่มีคุณลักษณะหรือยี่ห้อที่แตกต่างจากวัคซีนที่ภาครัฐนำเข้ามา และสามารถจัดส่งวัคซีนได้ทันภายในปี 2564 รวมทั้งในอนาคตกรณีที่มีการวิจัยและผลิตวัคซีนโควิด-19 เพิ่มเติม ก็สามารถนำเสนอวัคซีนทางเลือกรายการอื่นเพิ่มเติมต่อไปได้
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะทำงานฯยังได้สรุปการจัดหาวัคซีนโควิด-19 เพิ่มเติมสำหรับภาครัฐ ประกอบด้วย

Pfizer, Sputnik V และ Johnson & Johnson

และในการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ของสถานพยาบาลเอกชนนั้น ที่ประชุมคณะทำงานฯมีความเห็นว่า ควรเป็นวัคซีนโควิด-19 ในรายการอื่น ๆ ที่ไม่ได้ให้บริการโดยภาครัฐและสถานพยาบาลของรัฐ เพื่อให้เป็นวัคซีนทางเลือกอย่างแท้จริง และไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับภาครัฐ เช่น Moderna, Sinopharm หรือวัคซีนอื่นที่มีการขึ้นทะเบียนต่อไปในอนาคต โดยขอให้มีการควบคุมราคาการให้บริการในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทางเลือกให้กับประชาชนในสถานพยาบาลเอกชนให้สมเหตุสมผล และมีราคาที่เหมาะสม ซึ่งที่ประชุมคณะทำงานฯได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ช่วยผลักดันให้มีบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายวัคซีนเข้ามาขึ้นทะเบียนในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ สำหรับการจัดหาวัคซีนในสถานพยาบาลเอกชน นั้น องค์การเภสัชกรรมจะเป็นผู้บริหารจัดการและประสานกับบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายวัคซีน โดยจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย (Product Liability) และสถานพยาบาลเอกชน/ภาคเอกชนที่ประสงค์จะนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ทางเลือก จะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องชำระเงินจองวัคซีนโควิด-19 ทางเลือกล่วงหน้าให้แก่องค์การเภสัชกรรมเต็มจำนวนมูลค่าการสั่งซื้อ (100%) รวมทั้ง จัดทำประกันสำหรับกรณีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน โดยภาคเอกชนที่มีความประสงค์จะขอนำเข้าวัคซีนทางเลือก สามารถดำเนินการแต่งตั้งตัวแทนจากบริษัทวัคซีนต้นทางและยื่นหนังสือต่อองค์การเภสัชกรรม โดยที่ประชุมคณะทำงานฯเห็นควรมอบหมายให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent : LOI) เพื่อดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนในการจัดหาวัคซีน ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดหาวัคซีนที่มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง