ปรากฎการณ์ สุดน่ารัก “หนูน้องฟ้องสิริ ” แม่อมยิ้มเล่า ทำไมลูกสาวตัวน้อยถึงคุยกับสิริ บางคน อาจจะสงสัยว่าสิริคืออะไร
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_4166220
Siri คือระบบสั่งการด้วยเสียงอัจฉริยะ ที่สามารถรับคำสั่งและเข้าใจภาษาพูดของคนที่ใช้กันจริงๆ และตอบสนองได้เสมือนเป็นผู้ช่วยส่วนตัวของผู้ใช้งานงาน สามารถพูดเป็นภาษาไทยได้
เมื่อเปิด siri สามารถพูดเป็นภาษาไทย อาทิ คิดถึงฉันมั้ยสิริ , กินอะไรดี , เที่ยวปทุมธานี
siri สิริจะโต้ตอบกลับ ทั้งแจ้งเป้าหมายว่า สิ่งที่พูด จะค้นหาอะไรที่เกี่ยวข้องให้
Siri ทำอะไรได้บ้าง
1.ใช้คำสั่งเสียงเพื่อบันทึกช่วยจำ (Reminder) โดยสามารถระบุเวลาและสถานที่ได้ด้วยเสียง
2.ใช้คำสั่งเสียงเพื่อส่งข้อความ
3.ใช้คำสั่งเสียงเพื่อสอบถามสภาพอากาศ
4.ใช้คำสั่งเสียงเพื่อสอบถามตารางการนัดหมายต่าง ๆ
5.ใช้คำสั่งเสียงเพื่อส่ง E-Mail
6.ใช้คำสั่งเสียงเพื่อค้นหาเบอร์โทร
7.ใช้คำสั่งเสียงเพื่อตั้งการเตือนต่าง ๆ
8.ใช้คำสั่งเสียงเพื่อสอบถามเส้นทางการเดินทาง
9.ใช้คำสั่งเสียงเพื่อสอบถามเวลา
10.ใช้คำสั่งเสียงเพื่อสอบถามหุ้น
11.ใช้คำสั่งเสียงเพื่อใช้ Playlist สำหรับการจัดการเพลง
วิธีใช้ SIRI
เมื่อต้องการเรียกใช้ Siri เพียงพูดขึ้นว่า “หวัดดี Siri” หรือ กดปุ่มด้านข้างค้างไว้ ในการใช้งาน บน iPhone 11 / 11 Pro / 11 Pro Max และซีรีย์X เป็นต้นไป ส่วนการใช้งานในรุ่นที่มีปุ่มโฮม ให้ กดปุ่มโฮมค้างไว้
เพียงเท่านี้ Siri ก็จะเริ่มต้นขึ้น จากนั้นก็เริ่มสนทนากับ Siri
เมื่อต้องการเปิดใช้งาน บริการหาตำแหน่งที่ตั้ง กรุณาแตะที่แอพ [Settings] บนหน้าโฮม จากนั้นไปยังรายการ [Privacy]> [Location Services] จากนั้นเปิดสวิทซ์ ที่รายการ [Location Services] เลื่อนหน้าจอขี้น เพื่อมายังหน้าจอด้านล่าง จนถึงรายการ [Siri & Dictation] แล้วแตะ หน้าจอจะแสดงรายการย่อย แตะที่ [While Using the App] จนปรากฏเครื่องหมายถูกที่ด้านหลังรายการ
เพียงเท่านี้ Siri ก็สามารถตอบคำถามที่ต้องใช้งาน บริการหาตำแหน่งที่ตั้งได้แล้ว
ใช้คำสั่งลัด Siri
ใน iOS 12 ขึ้นไป คำสั่งลัด Siri จะช่วยให้คุณจัดการงานที่ต้องทำเป็นประจำได้อย่างรวดเร็วผ่านแอพที่คุณใช้บ่อยที่สุด ซึ่งทั้งหมดนี้ทำได้ด้วยการแตะเพียงหนึ่งครั้งหรือการบอกกับ Siri
Siri แนะนำคำสั่งลัดเมื่อคุณต้องการ
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
Siri จะเรียนรู้กิจวัตรประจำวันของคุณจากแอพต่างๆ จากนั้น Siri จะแนะนำวิธีการง่ายๆ ในการจัดการงานทั่วไปบนหน้าจอล็อคหรือในการค้นหา
ตัวอย่างเช่น หากคุณใช้แอพเดียวกันสั่งกาแฟทุกๆ วัน Siri อาจแนะนำเครื่องดื่มโปรดของคุณ
หากต้องการใช้คำแนะนำโดย Siri คุณสามารถแตะคำแนะนำนั้นได้บนหน้าจอล็อค หรือปัดลงจากกึ่งกลางของหน้าจอเพื่อแสดงการค้นหา แล้วแตะคำแนะนำโดย Siri
เพิ่มคำสั่งลัดไปยัง Siri
คุณยังสามารถสั่งทำงานคำสั่งลัดใดๆ ด้วยการบอกกับ Siri ได้อีกด้วย มองหาปุ่มเพิ่มไปยัง Siri ในแอพโปรดของคุณ จากนั้นแตะเพื่อเพิ่มคำสั่งลัดพร้อมกับวลีส่วนตัวของคุณเอง หรือไปที่การตั้งค่าเพื่อดูคำสั่งลัดทั้งหมดที่มีอยู่บนอุปกรณ์ของคุณ
คำสั่งลัดที่ต้องเปิดแอพบนอุปกรณ์ iOS ของคุณอาจไม่ทำงานบน HomePod และ Apple Watch
เพิ่มคำสั่งลัดจากแอพของบริษัทอื่น
- บนอุปกรณ์ iOS ให้เปิดแอพแล้วแตะ
- แตะ จากนั้นบันทึกวลีส่วนตัวที่คุณใช้บอกกับ Siri เพื่อสั่งทำงานคำสั่งลัด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าวลีที่คุณบันทึกเป็นวลีง่ายๆ ที่คุณสามารถจำได้
- แตะเสร็จสิ้น
เพิ่มคำสั่งลัดจากการตั้งค่า
- บนอุปกรณ์ iOS ให้ไปที่การตั้งค่า > Siri และการค้นหา
- คุณจะเห็นคำสั่งลัดที่แนะนำสามคำสั่ง แตะคำสั่งลัดทั้งหมดเพื่อดูการกระทำเพิ่มเติมจากแอพอื่นๆ
- แตะ
- หากต้องการบันทึกวลีส่วนตัว ให้แตะ พยายามบันทึกวลีง่ายๆ ที่คุณสามารถจำได้
- แตะเสร็จสิ้น
ไม่เห็นคำสั่งลัดที่คุณต้องการใช้ใช่ไหม
คุณอาจต้องเปิดแอพและดำเนินการการกระทำก่อนที่คำสั่งลัดจะปรากฏให้เห็นในรายการคำสั่งลัดที่แนะนำ
คุณสามารถเพิ่มคำสั่งลัดไปยัง Siri ได้หากแอพของบริษัทอื่นรองรับคำสั่งลัด Siri แล้วเท่านั้น หากคุณไม่เห็นคำสั่งลัดสำหรับแอพของบริษัทอื่น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแอพได้รับการอัพเดทเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้ว แล้วตรวจสอบใน App Store ว่าแอพรองรับคำสั่งลัด Siri หรือไม่
คุณยังสามารถใช้แอพคำสั่งลัดเพื่อสร้างคำสั่งลัดแบบกำหนดเองที่รวมหลายๆ ขั้นตอนจากหลายๆ แอพได้อีกด้วย
สั่งทำงานคำสั่งลัดด้วย Siri
หลังจากที่คุณเพิ่มคำสั่งลัดไปยัง Siri บนอุปกรณ์ iOS คุณสามารถสั่งทำงานคำสั่งลัดด้วยการพูดวลีส่วนตัวของคุณกับ Siri ได้บน iPhone, iPad, iPod touch, Apple Watch หรือ HomePod
เพียงพูดว่า “หวัดดี Siri” แล้วพูดวลีส่วนตัวที่คุณสร้างสำหรับคำสั่งลัด
การเรียกใช้คำสั่งลัดของ Siri ต้องมี iOS 12 หรือใหม่กว่าบน iPhone, iPod touch, HomePod, หรือ Apple Watch Series 3 หรือใหม่กว่า และ iOS 12 หรือ iPadOS หรือใหม่กว่าบน iPad
ลบคำสั่งลัดหรือเปลี่ยนวลีคำสั่งลัด
ไปที่การตั้งค่า > Siri และการค้นหา จากนั้นแตะคำสั่งลัดของฉัน
หากต้องการเปลี่ยนวลีสำหรับคำสั่งลัด ให้แตะคำสั่งลัด แล้วแตะอัดคำสั่งอีกครั้ง
หากต้องการลบคำสั่งลัด ให้ปัดไปทางซ้ายบนคำสั่งลัดแล้วแตะลบ หรือแตะคำสั่งลัดแล้วแตะลบคำสั่งลัด
ปิดคำสั่งลัดที่แนะนำจากการค้นหา การค้นดู หรือหน้าจอล็อค
หากคุณไม่ต้องการเห็นคำแนะนำโดย Siri หรือคำสั่งลัดสำหรับแอพใดแอพหนึ่งโดยเฉพาะ ให้ไปที่การตั้งค่า > Siri และการค้นหา จากนั้นเลื่อนลงแล้วแตะที่แอพนั้น จากจุดนี้ คุณสามารถปิดการค้นหา คำแนะนำ และคำสั่งลัดทั้งหมดสำหรับแอพนั้นได้ หรือปิดอนุญาตบนหน้าจอล็อคเพื่อลบคำแนะนำสำหรับแอพนั้นออกจากหน้าจอล็อค
ไปที่การตั้งค่า > Siri และการค้นหา จากนั้นเลื่อนลงแล้วปิดคำแนะนำในการค้นหา คำแนะนำในการค้นดู หรือคำแนะนำบนหน้าจอล็อค
ซีรี (อังกฤษ: Siri) หรือแผลงเป็น สิริ[2] เป็นซอฟต์แวร์ผู้ช่วยอัจฉริยะ (intelligent software assistant) และผู้นำร่องความรู้ (knowledge navigator)
ซึ่งทำหน้าที่เสมือนแอปพลิเคชันช่วยส่วนบุคคลสำหรับอุปกรณ์iOSแอปพลิเคชันนี้ใช้อินเตอร์เฟซผู้ใช้ภาษาธรรมชาติในการตอบคำถาม เสนอคำแนะนำ และดำเนินการปฏิบัติตามคำขอซึ่งได้รับมอบหมายไปยังชุดบริการเว็บ
แอปเปิลอ้างว่าซอฟต์แวร์นี้ปรับให้เข้ากับความพึงใจส่วนตัวของผู้ใช้เมื่อเวลาผ่านไป และให้ผลเป็นของตัว เช่นเดียวกับการบรรลุภารกิจ เช่น
การหาคำแนะนำร้านอาหารละแวกใกล้เคียง หรือถามทาง[3]ซีรีภาพจับหน้าจอแสดงการโต้ตอบกับซีรี
ในภาพแสดงให้เห็นความสามารถในการประมวลข้อมูล (จากอักษรย่อ มศว เป็นชื่อเต็ม) และการเลือกข้อมูล (ปีก่อตั้ง) มาแสดงผลอย่างเป็นระบบผู้ออกแบบบริษัท เอสอาร์ไอ อินเตอร์เนชันแนลผู้พัฒนาแอปเปิลวันที่เปิดตัว9 สิงหาคมพ.ศ. 2554; 3204 วันก่อนระบบปฏิบัติการiOSแพลตฟอร์มไอโฟน 4เอส ขึ้นไป
ไอแพด รุ่นที่ 3 ขึ้นไป
macOS 10.12 ขึ้นไปภาษาอังกฤษ, อิตาลี, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี, สเปน, เดนมาร์ก, ดัตช์, โปรตุเกส, รัสเซีย, สวีเดน, ไทย, ตุรกี[1]ประเภทIntelligent software assistantสัญญาอนุญาตกรรมสิทธิ์เว็บไซต์www.siri.com
ซีรีเดิมเริ่มแรกเป็นแอปพลิเคชัน iOS ที่สามารถหาได้ใน App Store ซีรีตกเป็นกรรมสิทธิของบริษัทแอปเปิลเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553[4] บริษัท เอสอาร์ไอ อินเตอร์เนชันแนล ประกาศว่า ซอฟต์แวร์ของพวกเขาจะสามารถใช้ได้ในแบล็กเบอร์รีและสำหรับโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ แต่ความพยายามพัฒนาทั้งหมดสำหรับแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่ของแอปเปิลถูกยกเลิกภายหลังแอปเปิลเข้าซื้อกิจการ[5]
ปัจจุบัน ซีรีเป็นส่วนหนึ่งของไอโอเอสตั้งแต่เวอร์ชัน 5 เป็นต้นมา โดยเริ่มแรกสามารถใช้ได้เฉพาะบนไอโฟน 4เอสซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554[6] แม้กระนั้น แฮกเกอร์ก็ยังสามารถใช้ซีรีได้ในไอโฟนรุ่นเก่ากว่า วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 แอปเปิลประกาศต่อสาธารณะว่า ไม่มีแผนสนับสนุนซีรีบนเครื่องรุ่นเก่ากว่าของบริษัท[7] ต่อมาแอปเปิลได้อนุญาตให้ไอแพด และไอแพดมินิ สามารถใช้ซีรีได้ด้วยเช่นกัน และในปี 2559 ได้เพิ่มความสามารถนี้ใส่บนคอมพิวเตอร์แมค บน macOS ตั้งแต่เวอร์ชัน 10.12 เป็นต้นมา