มาตรการ “เยียวยาโควิด” เราไม่ทิ้งกัน เราชนะ จ่าย 3,500 บาท 2 เดือน คนละครึ่ง 1 ล้านสิทธิ์

มาตรการ “เยียวยาโควิด” เราชนะ จ่าย 3,500 บาท 2 เดือน คนละครึ่ง 1 ล้านสิทธิ์ เราเที่ยวด้วยกัน ถึง 30 เม.ย. 64

12 มกราคม 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ออกมาตรการ เราไม่ทิ้งกัน, เยียวยาเกษตรกร และ โครงการเราชนะ ประกอบด้วย

มาตรการ ลดค่าไฟฟ้า 2 เดือนตามใบแจ้งหนี้ตั้งแต่ กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564 โดยให้ใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก 

มาตรการนี้ มีข้อกำหนดสำคัญให้สำหรับบ้านพักอาศัยที่ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนเท่านั้น สำหรับบ้านพักอาศัยที่ใช้ไฟเกิน 150 หน่วยต่อเดือน จะเป็นการให้ส่วนลดค่าไฟตามเงื่อนไข โดยรายละเอียดมอบหมายให้กระทรวงการคลังชี้แจงต่อไป ทั้งนี้ไม่รวมส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่ให้สิทธิ์ใช้ไฟฟรี 50 หน่วยแรก

มาตรการ ลดค่าน้ำ 10% เป็นระยะเวลา 2 เดือนตามใบแจ้งหนี้ กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564

มาตรการนี้ สงวนไว้เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก ไม่รวมส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ

มาตรการ ช่วยเหลือ ค่าอินเทอร์เน็ต 

ครม. ได้มอบหมายให้ก.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หารือร่วมกับผู้ประกอบการ และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตบ้าน และโทรศัพท์มือถือ ในการสนับสนุนการทำงานที่บ้านหรือ Work From Home รวมทั้ง สนับสนุนการโหลดแอปพลิเคชันหมอชนะฟรีโดยไม่คิดค่าดาต้าเป็นระยะเวลา 3 เดือน

มาตรการ โครงการคนละครึ่ง ให้ขยายสิทธิ์เพิ่มอีก 1 ล้านสิทธิ์  และ เราเที่ยวด้วยกันไปถึงเดือนเมษายน 64

การเปิดลงทะเบียนคนละครึ่งรอบใหม่ โดยโครงการดังกล่าวจะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนในวันที่ 20 มกราคม นี้ ก่อนที่จะสามารถใช้สิทธิได้ในวันที่ 25 มกราคม 2564 เป็นต้นไป  

ในส่วนของ “โครงการเราเที่ยวด้วยกัน” ครม. ได้มอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ดำเนินการให้ผู้ใช้สิทธิ์เราเที่ยวด้วยกัน ที่มีการจองที่พักในช่วงเดือน ม.ค. ถึง ก.พ. 2564 สามารถเลื่อนการเดินทางออกไปได้จนถึงเดือน เม.ย. 2564 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ครม. ยังมอบหมายให้ ททท. พิจารณาแนวทางในการขยายระยะเวลาโครงการที่เหมาะสม และปรับปรุงโครงการเราเที่ยวด้วยกันให้มีความรัดกุม 

มาตรการ เราชนะ จ่ายเงินเยียวยารายละ 3,500 บาท 2 เดือน

ครม.สรุปรายละเอียดความช่วยเหลือเยียวยาโควิดรอบใหม่ครั้งนี้ ได้กำหนด เงินเยียวยา ที่เหมาะสม อยู่ที่ประมาณ 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยรับเงินเยียวยาภายใต้โครงการ เราชนะ โดยจะมีการนำไปเสนอคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 19 มกราคม 2564 ซึ่งประชาชนได้รับเงินเยียวยาก้อนนี้ ภายในสิ้นเดือนมกราคม หรือไม่ก็ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ต้องรอรายละเอียดที่ชัดเจนต่อไป   

มาตรการลดภาระค่าครองชีพและช่วยประชาชนในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจจากโควิด-19 อื่น ๆ ได้แก่ 

  1. ขยายเวลาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 90% อีก 1 ปี และ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเหลือ 0.01% (เสนอครม.อีก 2 สัปดาห์)
  2. มาตรการแบงก์รัฐเติมสภาพคล่อง 2.68 แสนล้านบาท
  3. มาตรการสำหรับผู้ใช้แรงงาน มีดังนี้

– ขยายเวลาลดหย่อนส่งเงินสมทบ ประกันสังคม 
– กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ได้เงินชดเชย 70% ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 200 วัน
– กรณีว่างงานจากการลาออก ได้เงินชดเชน 45% ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน 

รายละเอียดมาตรการลดค่าไฟฟ้า

มาตรการช่วยค่าไฟ-ค่าน้ำ บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน จากโควิด-19 ระลอกใหม่
ครม.อนุมัติมาตรการเร่งด่วน ช่วยค่าไฟฟ้า-ค่าน้ำประปา สำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก รวม 2 เดือน (บิลเดือนก.พ.-มี.ค.64) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ดังนี้


1.มาตรการช่วยค่าไฟฟ้า สำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและวิสาหกิจ) จำนวนกว่า 23.7 ล้านราย โดยบ้านอยู่อาศัย ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้ใช้ฟรี 90 หน่วยแรก ถ้าใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้ส่วนลดค่าไฟ ตามเงื่อนไข ส่วนกิจการขนาดเล็ก ไม่รวมส่วนราชการและวิสาหกิจ ให้ใช้ไฟฟ้าฟรี 50 หน่วยแรก

2.มาตรการช่วยค่าน้ำประปา โดยลดค่าน้ำประปาร้อยละ 10 สำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและวิสาหกิจ) จำนวนกว่า 6.76 ล้านราย

สำหรับเงื่อนไขมาตรการช่วยค่าไฟฟ้า กรณีที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน จะได้รับส่วนลดค่าไฟ มีดังนี้
1.ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับบิล ธ.ค.63 ให้คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้จริง
2.หากใช้ไฟฟ้ามากกว่าบิล ธ.ค.63 ให้คิดค่าไฟฟ้าดังนี้
-ใช้มากกว่าบิล ธ.ค.63 แต่ไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ให้คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับการใช้ไฟฟ้าของบิล ธ.ค.63
-มากกว่า 500 หน่วย แต่ไม่เกิน 1000 หน่วยต่อเดือน ให้คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของบิล ธ.ค.63 บวกด้วยหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าบิล ธ.ค.63 ในอัตราร้อยละ 50
-มากกว่า 1000 หน่วย ให้คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วย การใช้ไฟฟ้าของบิล ธ.ค.63 บวกด้วยหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าบิล ธ.ค.63 ในอัตราร้อยละ 70
ทั้งนี้ ให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

มาตรการสินเชื่อ เยียวยาโควิด-19

ครม.อนุมัติขยายเวลามาตรการสินเชื่อ เยียวยาโควิด-19 ระลอกใหม่ บรรเทาทุกข์ประชาชน
ครม.อนุมัติขยายระยะเวลามาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งเป็นมาตรการด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.ขยายระยะเวลาการขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) วงเงิน 5,000 ล้านบาท จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการส่งออกและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงผู้นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อพัฒนาประเทศ

2.ขยายระยะเวลาการขอสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ของธนาคารออมสิน วงเงิน 20,000 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) วงเงิน 20,000 ล้านบาท จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนที่มีอาชีพอิสระไม่มีรายได้ประจำหรือเกษตรกรรายย่อย

3.ขยายระยะเวลาการขอสินเชื่อเสริมพลังฐานรากของธนาคารออมสิน วงเงิน 10,000 ล้านบาท จากเดิมที่สิ้นสุด 30 ธันวาคม 2563 ออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้มีรายได้ประจำ รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และภัยธรรมชาติ

มาตรการช่วยเหลือทางการเงิน

มาตรการทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 7 แห่ง ที่อยู่ภายใต้กำกับกระทรวงการคลัง โดยกระทรวงการคลังได้รับการขออนุมัติจาก ครม. ขยายเวลา 3 โครงการ คือ

  1. สินเชื่อเสริมพลังฐานราก (ธนาคารออมสิน) มีวงเงินคงเหลือ 7,500 ล้านบาท เป็นการสนับสนุนสินเชื่อให้ผู้มีรายได้ประจำ อาชีพอิสระ ผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงคนในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หรือภัยธรรมชาติ หรือภัยทางเศรษฐกิจ วงเงิน 50,000 บาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 3 ปี โดย ครม.ให้ขยายเวลาออกไปถึง 30 มิ.ย. 2564
  2. สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มีวงเงินคงเหลือ 11,400 ล้านบาท เป็นวงเงินของธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นการสนับสนุนสินเชื่อให้ประชาชนที่มีอาชีพอิสระ ไม่มีรายได้ประจำ หรือเกษตรกรรายย่อย คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.1 ต่อเดือน ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน ซึ่ง ครม.ขยายขอรับสินเชื่อได้ถึง 30 มิ.ย. 2564
  3. สินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต วงเงินคงเหลือประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สนับสนุนสินเชื่อให้ผู้ประกอบการส่งออกและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงผู้นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อพัฒนาในธุรกิจของตัวเอง อัตรดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ในปีที่ 1 และ 2 อัตราไพรม์เรต ลบร้อยละ 2 ต่อปี ปีที่ 3-5 และคิดอัตราไพรม์เรตในปีที่ 6-7 อยู่ที่ร้อยละ 6 ต่อปี โดย ครม.ขยายเวลาถึง 30 มิ.ย. 2564 เช่นกัน

มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

กระทรวงการคลังหารือกับกระทรวงมหาดไทยว่า โควิด-19 มีผู้ได้รับผลกระทบกันทั่วหน้า โดยจะลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 90% ชำระเพียง 10% ส่วนยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ ลดเหลือ 0.01% จะนำเสนอ ครม. ภายใน 2 สัปดาห์นี้.

รายละเอียดการเลื่อนวันเข้าพัก เราเที่ยวด้วยกัน เบื้องต้น สามารถเลื่อนการจองที่พัก(เข้าพัก)ได้ถึงวันที่ 30 เมษายน2564

ครม. อนุมัติให้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. )ปรับปรุงเงื่อนไขโครงการ “เราเที่ยวกัน” โดยผู้ใช้สิทธิ์ตามโครงการเราเที่ยวด้วยกันที่จองที่พักตั้งแต่ ม.ค. -ก.พ. 2564 สามารถเลื่อนการเดินทางออกไปได้ถึงเดือน เม.ย 2564 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

ทั้งนี้เงื่อนไขที่จะเปิดให้ เลื่อนการใช้สิทธิ์ในโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน”  จะประกอบไปด้วย 5 เงื่อนไข ที่คาดว่าจะออกประกาศได้ในเร็วๆนี้

  1. การจองห้องพักตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไปเท่านั้น ที่จะได้รับสิทธิ์ให้สามารถเลื่อนวันเข้าพักได้
  2. การเลื่อนวันพัก เบื้องต้นสามารถเลื่อนการจองที่พัก  และเข้าไปได้ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2564
  3. การเลื่อนที่พัก จะเปิดให้เลื่อนได้เป็นการทั่วไปทั้งประเทศ ไม่จำกัดเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น
  4. การเลื่อนการจองประชาชนต้องติดต่อกับทางโรงแรมโดยตรงเท่านั้น เนื่องจากโรงแรมต้องทำระบบแบบ Manual ไปก่อน ระหว่างรอให้ธนาคารกรุงไทย (KTB) ดำเนินการปรับปรุงระบบให้ประชาชนแจ้งเลื่อนห้องพักผ่านระบบแล้วเสร็จ
  5. คาดว่าต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 จะเปิดให้ประชาชน สามารถเลื่อนการจองผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นของโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน”ได้

การขยายเวลาโครงการ จากสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2564 ขยายออกไปเป็นวันที่ 31 ตุลาคม 2564 รวมถึงการเปิดทางให้นักท่องเที่ยวที่จองห้องพักในโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป

เบื้องต้น สามารถเลื่อนการจองที่พัก(เข้าพัก)ได้ถึงวันที่ 30 เมษายน2564  โดยให้เลื่อนได้เป็นการทั่วไปทั้งประเทศ โรงแรมต้อง Manual ไปก่อน ระหว่างรอให้ KTB ปรับปรุงระบบที่คาดว่าจะเปิดให้แจ้งเลื่อนผ่านระบบได้ในราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564

เรื่องที่เกี่ยวข้อง