ส่องกล้องดู “หน้ากากอนามัย และหน้ากากผ้า”

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผย ผ้าฝ้ายมัสลินเหมาะสมกับการทำหน้ากากผ้ามากกว่าผ้าชนิดอื่น

11 มีนาคม นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนสวมหน้ากากป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ทางกระทรวงสาธารณสุข โดย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้นโยบายการใช้หน้ากากป้องกันโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับความเสี่ยง หน้ากากผ้าจึงเป็นทางเลือกสำหรับประชาชนที่ไม่ป่วยและมีความเสี่ยงต่ำกว่าบุคลากรทางการแพทย์ ที่สำคัญคือสามารถทำเองได้ ทำให้หลายหน่วยงานในภาครัฐสนับสนุนให้ประชาชนตัดเย็บหน้ากากผ้าขึ้นใช้เอง
.
ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมอนามัย ได้รับมอบหมายจาก นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้ทำการศึกษาชนิดของผ้าต่างๆ ที่น่าจะมีความเหมาะสมในการนำมาใช้คือ
.
1.สามารถกันอนุภาคขนาดเล็ก
2.ป้องกันการซึมผ่านของละอองน้ำ
3.สามารถนำไปซักได้หลายครั้งรวมถึงหาได้ง่ายทั่วไป โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบผ้าหลายรูปแบบ เช่น ผ้าฝ้ายดิบ ผ้าฝ้ายมัสลิน ผ้าสาลู ผ้านาโน และผ้ายืด
.
โดยผลการทดสอบพบว่ามีผ้า 3 ชนิดคือ ผ้าฝ้ายดิบ ผ้าฝ้ายมัสลิน และผ้านาโน เมื่อนำผ้ามาประกอบกัน 2 ชั้น และส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เส้นใยผ้าสามารถกันอนุภาคได้ใกล้เคียงหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ และได้ศึกษาจำนวนครั้งของการซักล้างในผ้า 3 ชนิดเพื่อทดสอบการเป็นขุยพบว่า ผ้าฝ้ายดิบและผ้าฝ้ายมัสลิน สามารถซักได้มากกว่า 100 ครั้ง โดยคุณภาพของเนื้อผ้าไม่เสื่อม และทดสอบประสิทธิภาพการต้านการซึมผ่านของละอองน้ำพบว่า ผ้าฝ้ายมัสลินและผ้าสาลูสามารถต้านการซึมผ่านได้ดีที่สุด
.
อย่างไรก็ตาม จากผลการทดสอบสรุปว่าผ้าฝ้ายมัสลิน มีความเหมาะสม ในการนำมาใช้ทำหน้ากากผ้า 2 ชั้นมากกว่าผ้าชนิดอื่น เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีหลายด้านคือ สามารถกันละอองน้ำและเส้นใยผ้าสามารถกันอนุภาคได้ดีกว่าผ้าชนิดอื่นและที่สำคัญสามารถนำมาใช้งานได้หลายครั้ง
.
ทั้งนี้เพื่อความสะอาดของหน้ากากผ้า ทางกระทรวงฯ แนะนำให้ซักล้างและตากแห้งทุกวัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยประชาชนต้องป้องกันตัวเองด้วยการไม่เอามือไปสัมผัส หน้ากาก ขณะสวมใส่ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคมาติด ซึ่งอาจจะเข้าสู่จมูกหรือปากได้ และควรล้างมือบ่อยๆ เพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้น

สิ่งที่อยากเห็นคือ อยากเห็นหน่วยงานมาตรฐานของรัฐออกมาทดสอบ เรื่องแบบนี้อย่างจริงจัง และให้คำแนะนำกับประชาชน อย่างถูกต้องตรงไปตรงมา เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ เลือก ได้เองดีสุด ไม่งี้นประชาชนตาดำๆ อย่างเราก็ต้อง หาข้อมูลกันเองไปเรื่อยๆ ซึ่งความมั่นใจ มันไม่มากพอ

บทสรุปตอนท้าย คุณ Jfk / ขออนุญาตแชร์เรื่องดีๆ

ที่มา : ที่มาคุณหมอ J

จากสถานะการณ์ ฝุ่นละออง และ ล่าสุด การระบาด ของ Covid-19 ส่งผลให้คน หันมาใช้หน้ากากอนามัยกัน มากมายจนหน้ากากอนามัยขาดตลาดอย่างรุนแรง ราคาพุ่ง จาก กล่องล่ะ 50-60 บาท(ต่อ 50 ชิ้น) หรือชิ้นล่ะประมาณ 1 บาท สำหรับ แบรนด์มาตรฐาน ที่ขายให้กับแพทย์และสถานพยาบาลต่างๆ กลายเป็น  กล่องล่ะ 750-1000 พันบาท หรือชิ้นล่ะ 15-20 บาท และสินค้าที่นำมาขายกัน ก็ชุลมุน ทั้งจากโรงงานมาตรฐาน และทำกันเอง รวมไปถึงพวก นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่ มีทั้งได้ มาตรฐาน และไม่ได้มาตรฐาน ไม่รวมไปถึงพวกที่ แอบไปเอาหน้ากากเก่า กลับมาซักรีดกลับมาขายใหม่ 

บางคนเชื่อว่า ที่มันแพง เพราะว่า การกักตุนเก็งกำไร แต่อยากบอกว่าจากการที่ คลุกคลีกับพวกขายหน้ากาก หลายคน สาเหตุที่มันแพงมาก ก็คือ ความต้องการใช้ในประเทศสูงขึ้นมาก จาก ความตื่นตัว ตื่นกลัว ของประชาชน ต่อทั้งโรค และฝุ่น กับอีกสาเหตุหลัก คือมีความต้องการ จากตลาดต่างประเทศ ทำให้หลายคน กว้านซื้อ หน้ากาก นำไปส่งออกตามออรเด้อร์ ในราคาที่สูงมากๆส่งผลให้ ราคามันสูง มาอย่างที่เห็น

เมื่อหน้ากากอนามัย ราคาสูง ขึ้นมาเกือบ 20 เท่าอย่างนี้ เลย เริ่มมีการทบทวนการใช้หน้ากาก ผ้า กันขึ้นมา ทัง โดยส่วนของเอกชน และ หน่วยงาน ทางด้านการแพทย์บางส่วน

ย้อนอดีตไป สมัยผมเรียนแพทย์ เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ยุคนั้นไม่มีหน้ากากอนามัย หมอไทย รวมทั้งหมอทั่วโลก เราใช้หน้ากากผ้า ที่ทำจากผ้าฝ้าย หรือ บางที ก็ใช้ผ้ากอร์ซ ซ้อนหลายๆชั้นเย็บเป็นผืนสี่เหลี่ยม ใช้เพื่อป้องกันน้ำลายจากหมอ กระเด็นลงไปในแผลคนไข้ ตอนผ่าตัด ตลอดจน ใช้ป้องกันการติดเชื้อจากหมอสู่คนไข้ และจากคนไข้สู่หมอด้วย ก็ใช้กันมานานหลายสิบปี แต่ลำบากต้องเอาไปซัก กลับมาใช้ใหม่ไม่ค่อยสะดวก

แต่แล้ว ก็เหมือนยุคทุนนิยมสมัยใหม่ ความสะดวกสบายมาแทนที่ หน้ากากอนามัย ชนิดใช้แล้วทิ้ง เริ่มออกมา แทนราคาไม่แพง สะดวก หลายๆแห่งก็เลยยอมจ่าย เพื่อมาซื้อความสะดวกสบายนี้ จนหน้ากากผ้าเริ่มเสื่อมความนิยมไป

แต่มาถึงวันนี้ วันที่ หน้ากากอนามัย ขาดแคลน หาซื้อยาก และ ราคาสูงขั้นเกือบ 20 เท่า หน้ากากผ้า เลยถูกยก กลับขึ้นมา

แต่หลายคนรวมทั้งผม ก็ยังคงคิด ว่า หน้ากากผ้า มันจะดีพอที่จะทดแทนหน้ากากอนามัยได้เหรอ

หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน เคลมว่า มีวัสดุป้องกันเชิอโร และความชื้นได้ดีกว่า หน้ากากผ้า ป้องกันเชื้อได้ดีกว่า หน้ากากผ้า

เมื่อสงสัย ฟังแต่คนอื่นเค้าพูดกัน ในฐานะหมอคนนึงที่ผ่านไร มาเยอะ 30-40 ปี เลยลอง มานั่งคิด และ ลองจับ มันมาส่องศึกษากัน

โดยนำหน้ากากอนามัย ชนิดสามชั้น และหน้ากากผ้า ชนิดต่างๆมาลองทดสอบ และส่องขยายด้วยกล้อง Microscope กำลังขยายประมาณ 800-1000 เท่า ลองมาดูกัน

รูปแรกเป็นหน้ากากอนามัย แบรนด์มาตรฐาน ที่จับตัดแยกให้เห็นวัสดุสามชั้น

ชั้นนอกสุดสีเขียวอ่อนจะเป็นวัสดุที่เคลม ว่ากันน้ำได้ ป้องกันเชื้อได้ดี  

ชั้นกลางเป็นวัสดุคล้ายฝ้ายเนื้อฟู น่าจะเก็บความชื้นได้ดี

ส่วนชั้นในสุด ที่สัมผัสกับหน้าเรา ดูคล้ายตะแกรงกรอง

ทีนี้ มาลองดูภาพขยาย ขนาด 800-1000 เท่ากัน

ภาพนี้ ถ่ายจากด้านสีฟ้า รวมทั้งสามชั้น

ถ่ายเฉพาะด้านนอกชั้นเดียว จะเห็นว่า มันเป็นเส้นใยลื่นคล้ายพลาสติค แต่ จากภาพขยายจะเห็นมีช่องว่างระหว่างเส้นใยพอสมควร

เอากระดาษขาวรองด้านหลังออก ให้เป็นพื้นดำ เห็นช่องว่างชัดขึ้น ส่วนวงดำใหญ่ๆนั่นมีเยื่อบางๆของเส้นใย อยู่นะครับ แต่มีช่องเล็กๆกระจายกันไป

ชั้นกลาง ซึ่งเป็นวัสุดหนาฟูคล้ายสำลี คาดว่าคงเป็นเยื่อกระดาษหรือฝ้ายที่อุ้มน้ำได้ดี หนาแน่นมีช่องว่างน้อยกว่า ชั้นนอก แต่ก็มีช่องว่างบ้าง

อันนี้ชั้นในสุดที่ดูคล้ายตะแกง มีโครงเส้นใยหนา คล้ายขอบตะแกรงให้คงรูป
และตรงกลางเป็นเส้นใยบางๆ ให้อากาศผ่านง่ายหายใจสะดวก 
แต่เช่นกันดูแล้วมีช่องว่างๆเล็กๆ มากมาย 

ลองทดสอบการกันน้ำ

ชั้นสีฟ้า(เขียว) ที่อยู่ด้านนอก มันลื่นมันเอาน้ำหยดไป น้ำจะคงหยดอยู่ได้ ไม่ซึมผ่าน  แม้มันจะมีรูเล็กๆ น่าจะเป็นแรงตึงผึงของน้ำช่วยดึงไว้

แต่ถ้าเติมน้ำไปมากพอ น้ำจะไหลผ่านทั้งสามชั้นได้หมด 

ลองมาส่องหน้ากากฝ้าแบบต่างๆบ้าง

อันนี้หน้ากากผ้ายืดทรงสวยเคลมว่า เป็นนาโนซิงค์ ดูจากลักษณะน่าจะเป็นฝ้ายผสมใย Spandex เป็นยางยืดผิวมันเงาดูดซับน้ำน้อย ใส่สบาย แต่ ขยายดูแล้วเห็นช่องว่างระหว่างเนื้อผ้า กว้างพอสมควร 

อันที่สอง เป็นหน้ากากผ้าฝ้ายเนื้อแน่น(คล้ายผ้าโทเร) ดูดซับน้ำได้ดี ขยายภาพการทอค่อนข้างแน่นแทบไม่มีช่องว่างให้ เห็น

อันนี้ พวกหน้ากากผ้าฝ้ายสี ขยายแล้ว เห็นช่องว่างมากพอสมควร

แถมภาพขยายของกระดาษทิชชู่ที่หลายคน พูดถึงการเอาทำหน้ากากหรือปิด ว่ามันมีความทีบแค่ไหนลองให้ดูที้ง แบบ มาแผ่นเดียวจาก รง.
ซ้อน 2 และ ซ้อน 4

จากที่ดูแผ่นเดียว รูเยอะไป และบาง
สี่ชั้นดูทึบใช้ได้ ไม่ค่อยเห็นรูรอด แต่ว่า แน่นหายใจอึดอัด

บทสรุปหลังทดสอบ และขยายภาพดู

หน้ากากอนามัย 3 ชั้น

นั้น มันไม่ใช่กันน้ำได้100%  มันมีชั้นที่กันความชื้นได้ บ้าง แต่คงยังต้องมีช่องให้อากาศผ่านได้ไม่ใช่แผ่นพลาสติคทึบ ไม่งันหายใจไม่ออก
มันช่วยกักความชื้นได้ รวมทั้งฝุ่นละอองและเชื้อโรคให้ติดตามเส้นใยชั้นต่างได้ แต่ ต้องบอกว่า มันไม่ได้ 100% แต่ลดปริมาณเชื้อ และฝุ่นละอองต่างๆเข้าร่างกายเราให้ลดไปได้มาก

ส่วนหน้ากากผ้าก็เช่นเดียว ถ้าใช้ที่มันมีเนื้อผ้าที่แน่นหนาพอมันก็พอจะกรองจับเชื้อโรคต่างๆที่มากับละอองน้ำลาย รวมที้งฝุ่นละออง ขนาดต่างๆ ให้ลดประมาณลงไป แม้จะไม่ได้ทั้งหมด ที้งนี้คงต้องเลือกชนิดที่ ตัวเองชอบและดูความหนาแน่นของเนื้อผ้า และความสบายในการหายใจของเราประกอบ

โดยความเห็นส่วนตัวผ้าที่นำมาใช้ ถ้าเป็นผ้าที่มีความยืดหยุ่นสูง ถ้าไม่ทอละเอียดมากพอยากที่จะทำให้มันละเอียดกรองได้ดีเท่ากับผ้าที่ยืดน้อย แต่มันได้ความสะดวกสบาย ในการสวมใส่มาแทน

สำหรับความเห็นส่วนตัว ในฐานะหมอคนนึงที่ใช้ หน้ากากอนามัยด้วย

ถ้า ราคาหน้ากากอนามัย แพง และหาซื้อยาก อย่างทุกวันนี้ ถ้าจะทนใช้ ซ้ำ ข้ามวัน เหมือนที่บางคนใช้

ผมขอเลือกใช้หน้ากากผ้า ที่เอามาใช้ แล้วซักเปลี่ยนบ่อยๆ แทนดีกว่า

เมื่อใดราคามันถูกลง และกลับมา หาง่ายเหมือนปกติ ค่อยว่ากันใหม่

สิ่งที่อยากเห็นคือ อยากเห็นหน่วยงานมาตรฐานของรัฐออกมาทดสอบ เรื่องแบบนี้อย่างจริงจัง และให้คำแนะนำกับประชาชน อย่างถูกต้องตรงไปตรงมา เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ เลือก ได้เองดีสุด ไม่งี้นประชาชนตาดำๆ อย่างเราก็ต้อง หาข้อมูลกันเองไปเรื่อยๆ ซึ่งความมั่นใจ มันไม่มากพอ

และที่สำคัญ ที่ทุกคนต้องตะหนักก็คือ ไม่ว่า จะใช้หน้ากากอนามัย หรือ หน้ากากผ้า อย่าคิดว่า มันป้องกันได้ 100 % พวกนี้มันช่วยลด โอกาศในการแพร่และรับเชื้อลง แต่การระวังตัวหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่เสี่ยง ต่างๆ หรือคนแออัด ตลอดจนการระวัง เรื่องความสะอาดและสุขอนามัยตามสมควร สำคัญกว่า แต่ ก็ไม่ต้องกลัว จนถึงขั้นไม่กล้าทำอะไรเลย ใช้ชีวติตามปกคติ พอดีๆ ด้วยความระมัดระวัง พอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง