สถานการณ์ คลองระพีพัฒน์ สายบน จาก เขื่อนพระรามหก ถึงคลองฯฝั่งตกและฝั่งออก

จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ถึงท้ายน้ำ ณ สระบุรี ท่วมหนัก

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

เมืองสระบุรี ริมน้ำป่าสัก

“จมน้ำ…บ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำป่าสักช่วงตัวเมืองสระบุรี ถูกน้ำท่วมบางหลังมิดหลังคา ขณะที่น้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ยังเพิ่มมาเรื่อย ๆ ระดับน้ำแม่น้ำป่าสักห่างจากพื้นสะพานไม่ถึง 50 ซม.”

จากเพจสนง.ปชส.จังหวัดสระบุรี

“ด่วน! แนวกั้นน้ำพัง บ้านหมอ หนองโดน ดอนพุด ขนย้ายสิ่งของด่วน  

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระบุรี แจ้งว่า ด้วยมวลน้ำและระดับน้ำคลองชัยนาท-ป่าสัก มีระดับสูงขึ้น ทำให้น้ำกัดเซาะแนวบริเวณถนนช่วงต้นคลอง 23 R ที่แยกจากคลองชัยนาท-ป่าสัก(เกือกม้าโครงการชลประทานเริงรางคลอง 23 R) ขาดพังทลายทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่หมู่ 5 ตำบลสร่างโศก ระดับน้ำสูงประมาณ 50 เซนติเมตร – 1 เมตร

มวลน้ำนี้ จะไหลลงตำบลตลาดน้อย ตำบลโคกใหญ่ และตำบลหรเทพของ อำเภอบ้านหมอ , ตำบลหนองโดน อำเภอหนองโดน และอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี

อีกทั้งระดับน้ำในคลองระพีพัฒน์ มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดสระบุรี จึงขอให้อำเภอที่มีพื้นที่ติดกับคลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองระพีพัฒน์  แจ้งเตือน บริษัท ห้างร้าน ที่ประกอบการในคลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองระพีพัฒน์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง แพร้านอาหาร เป็นต้น

รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่พื้นที่ริมสองฝั่งคลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองระพีพัฒน์ ขอให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดคอยรับฟังข่าวสารทางราชการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงและให้ระวังสัตว์มีพิษ และสัตว์เลื้อยคลานที่มากับน้ำ”

 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสระบุรี

กระทบ “คลองระพีพัฒน์” ฝั่งตกและฝั่งออก เอาอยู่มั้ย “ต้องเฝ้าระวัง”

ประชาชนผู้ที่เคยถูกน้ำท่วมเมื่อปี 2554 คงจะจำภาพได้ดี รวมทั้งที่บ้าน คลองห้า มองแนวคลองทุกวัน น้ำห่างจากขอบตลิ่งระดับไหน ก็จะทรงๆ ประมาณ 1 เมตร ขึ้นอยู่กับประตูระบายน้ำจะปล่อยน้ำจากครลองระพีพัฒน์ ว่า ปล่อยมามากน้อยเพียงใด ซึ่งแนวคลอง 1-12 นี้จะเชื่อมลงมาสู่แนวคลองรังสิต ลงไปลำลูกกา คือ รับน้ำกันมาเป็นทอดๆ จากต้นทาง บริเวณเขื่อนพระรามหก มีประตูระบายน้ำพระนารายณ์ เป็นประตูระบายน้ำหลัก ซึ่งขนาดนี้น้ำเต็มแนวคลองระดีพัฒน์สายบน

ลงมาจนถึงหนองเสือ มีประตูน้ำสรีเสวภาและประตู้น้ำพระศรีศิลป์ รับหน้าที่ระบายน้ำต่อ และประตูน้ำพระอินทร์ ที่เชื่อมระบบระบายน้ำฝั่งตะวันตก กับแม่น้ำเจ้าพระยาที่กำลังล้นตลิ่ง ตลอดแนวแม่น้ำนอกคันกันน้ำ

คลองระพีพัฒน์ ฝั่งออก น้ำเยอะมาก ดูตัวเลขรัดับน้ำกับตลิ่ง

http://www.thaiwater.net/report/chart/chaopraya

ประตูน้ำฝั่งตก พระอิทร์เดชา ยังรับได้อีกนิด

รูปนี้จะเห็นแนวคลองระพีพัฒน์ ชัดเจน

แล้ว “คลองระพีพัฒน์” เอาอยู่มั้ย

แนวคลองที่ส่งผลต่ออ.คลองหลวง ธัญบุรี ลำลูกกา

 เนื่องจากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ สำนักงานชลประทานที่ 10 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดการมวลน้ำในแม่น้ำป่าสักโดยการผลักดันมวลน้ำจากแม่น้ำป่าสัก ผ่านประตูระบายน้ำพระนารายณ์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านขวาของเขื่อนพระรามหก อำเภอท่าเรือพระนครศรีอยุธยา

เข้ามาในคลองระพีพัฒน์ (คลองระพีพัฒน์มีโครงข่าย)ในปริมาณมาก 

โดยหากน้ำผ่านลงมากเกินกว่าแนวคลองระพีพัฒน์จะรับได้ น่ำจะล้นเข้าท่วมทุ่ง ไร่นา ขาวบ้าน2 ข้างทางถนนเรียบคลองระดีพัฒน์ลงมาก่อน

“แนวกำแพงปูน” กั้นน้ำ ส่งผลให้น้ำลงมาเร็ว ประชาชนนอกคัน กำแพงปูน อ่วม”

จากนั้น หากปริมาณน้ำมากหรือมีพายุมรสุม ฝนตกหนัก อีก อาจส่งผลกระทบกับชาวปทุมธานี ฝั่งตะวันออกโดยเฉพาะพื่นที่อำเภอคลองหลวงธัญบุรี หนองเสือ และ ลำลูกกา ซึ่งมีลำคลองอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่คลอง 1 ถึง คลอง 14 เพราะลำคลองทั้งหมดมีการเชื่อมบรรจบเป็นโครงข่ายกับคลองระพีพัฒน์ทั้งสิ้น โดยมีประตูระบายน้ำกันซ้ายขวา ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกเส้นทางระบายน้ำไปทางใด

ความเข้าใจเรื่อง คลองระพีพัฒน์

คลองระพีพัฒน์ แนวคลองมาจากเขื่อนพระรามหก แยกเป็น 2 สาย ระพีพัฒน์ตก และระพีพัฒน์ใต้ 

คลองระพีพัฒน์ตกจะทอดยาวตามแนวขวาง จากทิศตะวันออก(หนองแค)ไปทิศตะวันตกถึงประตูน้ำพระอินทร์ สายนี้คงปล่อยน้ำไปไม่เยอะ 

แต่อีกสายคือ คลองระพีพัฒน์ใต้ซึ่งจะเชื่อมต่อกับคลอง 13 อำเภอหนองเสือ(ตะวันออกสุดของจ.ปทุม) น้ำจะถูกระบายมาคลองสายนี้มากกว่า สังเกตว่า แนวคลองตัวเลขน้อย 1-12 จะมีระดับน้ำคงเหลือห้างตลิ่ง 1 เมตร ขึ้นอยู่กับประตูระบายน้ำต้นคลองที่เชื่อมคลองระพีพัฒน์จะเปิดมากหรือน้อย

ส่วนตอนนี้น้ำคลอง 13 หนองเสือเต็มแล้ว แต่จะระบายตามคลองต่อไปยังอ.องครักษ์ อ บางน้ำเปรี้ยว ซึ่งก็รับน้ำจากเขื่อนขุนด่านปราการชลอยู่ จากนั้นจะลง ม่น้ำบางปะกงลงอ่าวไทย 

เฝ้าระวัง ตั้งแต่คคลอง 1-12  (ณ ปัจจุบันนี้ 2 ต.ค. 64 )

      ความคืบหน้าของมวลน้ำในขณะนี้ (2/10/2564) มวลน้ำที่ไหลลงมาในปริมาณมากจากประตูน้ำพระนารยณ์ ไหลลงมา จนเอ่อล้นประตูน้ำพระเอกาทศรถ ที่ตั้งอยู่ ณ ต.คชสิทธิ์อ.หนองแค จ.สระบุรี และกระจายลงมาสู่พื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่การเกษตรบริเวณที่อยู่ใกล้คลองระพีพัฒน์บางส่วน ในจังหวัดสระบุรีพระนครศรีอยุธยาท และปทุมธานี

โครงข่ายแม่น้ำ คลอง ระบบระบายน้ำ ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ทั้งฝั่งตก กลาง ออก

http://www.thaiwater.net/report/chart/chaopraya

ภาพการจัดการน้ำ เริ่มได้รับผลกระทบมาก

      พี่น้องประชาชนที่อยู่ใกล้เส้นทางน้ำเฝ้าระวัง และเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อย่างมีสติ ซึ่ง ทางผู้รับผิดชอบพื้นที่คงประกาศแจ้งเตือนให้ทราบล่วงหน้า เพราะแนวคลองแต่ละแห่งมีประตูระบายน้ำควบคุมสามารถเปิดปิดได้

มีสติ คอยฝั่งข่าวสาร การแจ้งเตือนนะ

ขอบคุณเพจ คนปทุมธานี

ข้อมูลอ้างอิง

คลองระพีพัฒน์

คลองระพีพัฒน์ เป็นคลองที่ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ คลองระพีพัฒน์ หรือคลองระพีพัฒน์สายใหญ่ คลองระพีพัฒน์แยกตก และคลองระพีพัฒน์แยกใต้[1] คลองระพีพัฒน์เดิมทีเรียกกันว่า “คลองป่าสักใต้” หรือ “คลองเจ๊ก” เพราะใช้แรงงานคนจีนขุด แล้วจึงเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรกลช่วยในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงตั้งชื่อเป็นทางการว่า “คลองระพีพัฒน์” เพื่อเป็นพระเกียรติแก่พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒน์ศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ควบคุมการก่อสร้างเขื่อนพระรามหก ตั้งแต่เริ่มแรก [2]

คลองระพีพัฒน์เริ่มต้นขุดจากแม่น้ำป่าสัก บริเวณ คุ้งยางนม ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะไหลลงมาที่อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี และแยกออกเป็นสองสาย ความยาว 32 กิโลเมตร มีประตูน้ำพระนารายณ์ และประตูน้ำพระเอกาทศรถกั้นอยู่ระหว่างคลอง[3] เป็นคลองที่มีบทบาทสำคัญในการระบายน้ำ และโครงการชลประทานในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง

คลองระพีพัฒน์ (สายบน) น้ำไม่น่ากลัว ยังไม่ท่วมแน่นอน ถ่ายเมื่อ 2 ต.ค. 13.00 น.

เหนือประตู่ระบายน้ำ ก่อนเข้าหนองเสือ
น้ำที่ลงมาจากเขื่อนพระราม 6 มีแยกออกเป็น 2 ทาง ไปคลอง 13 ด้วย เพื่อตัดออกบางปะกง แม่น้ำนครนายก
ท้ายประตูระบายน้ำ

คลองระพีพัฒน์ เหนือคลอง 1 – 12 – วันที่ 2 ต.ค. 64 เวลา 13.00 น.

คลองระพีพัฒน์ เหนือคลองห้า (ปากทางระบบระบายน้ำ คลองห้า)
คลองระพีพัฒน์ เหนือคลองห้า (ปากทางระบบระบายน้ำ คลองห้า) มีน้ำเทียบแนวตลิ่งแค่นี้

รูปคลองห้าและคลองระพีพัฒน์ ณ 17 ต.ค. 64 เวลา 15.02 น.

เรื่องที่เกี่ยวข้อง